วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

d

ffg

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ


การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
                    
 การเลือกสถานที่               

     การเลือกสถานที่นับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญเป็นอันดับหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมความสำเร็จ ประกอบด้วยปัจจัยหลายประการซึ่งเป็นองค์ประกอบในการตัดสินว่าพื้นที่ใดเหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ทั้งยังเป็นส่วนช่วยในการเพิ่มมาตรการป้องกันความเสียหายในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ปัจจัยซึ่งจะช่วยพิจารณามีดังนี้

1. 
คุณภาพดิน

บ่อกุ้งกุลาดำที่ดีควรจะเป็นดินปนทรายและมีสภาพความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) อยู่ระหว่าง 6.5-8.5 มีคุณสมบัติกักเก็บน้ำได้ดี และคันดินไม่พังทลายง่าย

2. 
คุณภาพน้ำ

แหล่งน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงควรมีคุณภาพดี สะอาด ปราศจากสารเคมี สารพิษของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
และแหล่งชุมชน ยาฆ่าแมลง และของเสียจากโรงเลี้ยงสัตว์อื่นๆ ซึ่งมีสารอินทรีย์เน่าเปื่อยจากพืชและสัตว์
ซึ่งจะทำให้ออกซิเจนซึ่งจำเป็นต่อการหายใจในน้ำลดต่ำลง กลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อที่ไม่ต้องการอีกด้วย
แหล่งน้ำที่ใช้ควรมีปริมาณเพียงพอต่อการสูบใช้ตลอดทั้งปีและมีความเค็มที่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะพื้นที่ ที่มีการส่งน้ำเข้าบ่อเลี้ยงได้โดยไม่ต้องสูบน้ำจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี

3. 
แหล่งพันธุ์กุ้ง

พื้นที่เลี้ยงควรอยู่ใกล้หรือไม่ห่างจากแหล่งพันธุ์กุ้งกุลาดำ ทำให้สะดวกในการจัดหาลูกพันธุ์และการลำเลียง
ขนส่งซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพของลูกกุ้งด้วย

4. 
สาธารณูปโภค

สิ่งอำนวยความสะดวกหลายอย่างที่จำเป็นอย่างมากต่อการเลี้ยงเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี เช่น ถนน ไฟฟ้า
เพื่อสะดวกในการขนส่งอาหาร ผลผลิต การเตรียมอาหารหรือการเพิ่มออกซิเจนในบ่อเลี้ยงโดยการใช้เครื่องตีน้ำ

5. 
ตลาด

ปัจจุบันมีพ่อค้ามารับซื้อกุ้งกุลาดำถึงปากบ่ออยู่มากพอสมควร หรือทำการติดต่อห้องเย็นให้มาซื้อกุ้ง

การเตรียมบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำ

1. บ่อเลี้ยงที่ขุดใหม่ สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ
ความลาดชันของบ่อ     
       
บ่อที่มีความลาดชันมากจะเกิดปัญหามากกว่าบ่อที่มีความลาดชันน้อยเนื่องจากส่วนที่มีความลาด

ชันมากๆมีพื้นที่บ่อที่รับแสงมาก จะทำให้เกิดขี้แดดและตะไคร่น้ำอย่างรวดเร็วจึงก่อให้เกิดปัญหาพื้นบ่อ
เสื่อมโทรมได้เร็วกว่าบ่อที่มีความลาดชันน้อย
ตรวจความเป็นกรด-ด่างของดิน
       
พื้นบ่อที่มีความลึก 30-50 ซม.ถ้ามีค่าความเป็นกรด-ด่างต่ำกว่า 8.0 ให้โรยปูนมาร์ล 50 กิโลกรัม

ต่อไร่ ตากไว้ให้แห้งประมาณ สัปดาห์ หลังจากนั้นจะล้างบ่อหรือไม่ล้างก็ได้ แล้วจึงปล่อยน้ำจากบ่อพัก
เข้ามาในบ่อเลี้ยง

2. บ่อเก่าหรือบ่อที่ผ่านการเลี้ยงมาแล้ว

      
สำหรับบ่อเก่าซึ่งมีสภาพเสื่อมโทรมอยู่บ้างถ้าผู้เลี้ยงไม่พิถีพิถันในการเตรียมบ่ออาจเกิดปัญหาอยู่บ้าง ดังนั้นหลังจากการจับกุ้งแล้วต้องปรับสภาพพื้นบ่อให้ดีเสียก่อนด้วยการดูด หรือฉีดเลนบริเวณก้นบ่อทิ้ง

แล้วตากให้แห้ง จากนั้นจึงใช้รถไถหน้าดินออกอีกครั้งหนึ่งและโรยปูนมาร์ล80-100 กิโลกรัมต่อไร่ ตากให้แห้งประมาณ 2-3 สัปดาห์ การตากบ่อมีความจำเป็นสำหรับบ่อที่ใช้มาแล้วหลายครั้ง เพื่อเป็นการ
กำจัดแอมโมเนียและไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่หมักหมมอยู่ในดินแล้วล้างบ่อด้วยน้ำจากบ่อพักน้ำผ่านอวนตาถี่
อีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงทำการกักเก็บน้ำสำหรับเลี้ยงต่อไป

การกำจัดศัตรูในบ่อเลี้ยง    
    
ในกรณีที่บ่อไม่สามารถตากให้แห้งได้อาจเป็นเพราะบ่อมีการรั่วซึมจะใช้กากชาโรยบริเวณที่มีน้ำขัง
อยู่ในปริมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่ ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง จึงใช้ไดรโว่หรือท่อพญานาคดูดน้ำบริเวณนั้นทิ้ง ไม่จำเป็น
ต้องล้างบ่ออีกตะแกรงที่ประตูน้ำควรใช้ตาถี่มากๆ ขนาด 500-600 ไมครอนหรืออาจใช้มุ้งไนลอนเขียวอย่างดี
ถึง ชิ้น ถ้าใช้เครื่องสูบน้ำแบบท่อพญานาคจะใช้ถุงอวนทำด้วยมุ้งเขียวที่ปลายอีกชั้นเพื่อป้องกันศัตรูกุ้ง
ที่อาจเข้ามากับน้ำ

การเตรียมน้ำในบ่อเลี้ยง

น้ำในบ่อเลี้ยงควรมีความลึกประมาณ 1-1.5 เมตร เพื่อช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงของความเค็มและอุณหภูมิ เพราะในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิมากๆ หากอุณหภูมิสูงเกินไปในช่วงที่ร้อนจัด กุ้งจะเกิดอาการงอตัวและการเกร็งของกล้ามเนื้อทำให้ช็อคตายในที่สุด อีกทั้งระดับน้ำต่ำมากๆ แสงแดด
สามารถส่องไปถึงพื้นก้นบ่อจึงเกิดการบลูมของแพลงก์ตอนพืชอย่างรวดเร็วแพลงก์ตอนเหล่านี้จะแย่งใช้
ออกซิเจนไปจากบ่อเลี้ยงกุ้งในช่วงกลางคืนเกิดเป็นตะไคร่น้ำและขี้แดดในเวลากลางวันและในที่สุดเมื่อ
แพลงก์ตอนตายลงจะเกิดการสลายตัวทำให้พื้นบ่อเน่าเสียเกิดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ อันเป็นผลเสียต่อกุ้ง
ดังนั้นระดับน้ำที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงกุ้งแบบหนาแน่นควรให้ระดับน้ำสูงอย่างน้อย 1.50 เมตร และควรมีเครื่องสูบน้ำแบบท่อพญานาคขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16-24 นิ้ว ในอัตรา เครื่องต่อ บ่อ สำหรับช่วยเพิ่มระดับน้ำในบ่อเลี้ยงได้รวดเร็วทันกับความต้องการ

การคัดเลือกพันธุ์ลูกกุ้งกุลาดำ

ข้อควรพิจารณาในการเลือกซื้อลูกพันธุ์กุ้งกุลาดำ

      1. 
เลือกจากโรงเพาะฟักที่เชื่อถือได้ ถ้ามีโอกาสควรไปดูโรงเพาะฟักแห่งนั้น ดูการจัดการ วิธีการ มาตรฐานในการผลิต สิ่งเหล่านี้จะช่วยในการตัดสินใจเพราะถ้าแหล่งผลิตลูกกุ้งทำถูกต้องตามหลักวิชาการ มีการควบคุมคุณภาพทำให้มาตรฐานการผลิตสูง จะทำให้เราแน่ใจว่าลูกกุ้งที่ได้นั้นแข็งแรงและปลอดโรค

     2. 
พิจารณาสภาพของลุกกุ้ง ปกติผู้เลี้ยงที่มีประสบการณ์จะมารถบอกถึงความแข็งแรงหรือสมบูรณ์
ของลุกกุ้งได้ ในกรณีที่ไม่คุ้นเคยอาจใช้หลักต่อไปนี้ในการพิจารณาซึ่ง ลูกกุ้งที่แข็งแรงควรจะมีลักษณะดังนี้
ลำตัวโปร่งใส   ว่ายทวนกระแสน้ำ   ลักษณะภายนอกต้องปกติสมบูรณ์

การจัดการคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้ง      

     ปัญหาที่เกิดขึ้นในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในปัจจุบันได้แก่ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพน้ำที่แย่ลง เนื่องจากมลภาวะต่างๆ ที่มาจากการเลี้ยงอย่างหนาแน่นและการปล่อยของเสียต่างๆ ลงสู่แหล่งน้ำมากเกินไป ทำให้เกิดการหมักหมมในแม่น้ำลำคลอง และบริเวณปากแม่น้ำหรือตามแนวชายฝั่งทะเลจนถึงระดับที่การเลี้ยง
ในหลายๆ พื้นที่ต้องมีความเสี่ยงต่อกุ้งเป็นโรคตายสูงมาก การจัดการเรื่องคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงมีความสำคัญมาก ผู้เลี้ยงต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ตลอดจนแนวทางการในการป้องกันและแก้ไข
เพื่อลดปัญหาต่างๆ ที่อาจมีผลต่อสุขภาพของกุ้ง คุณสมบัติของน้ำที่มีความสำคัญในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำมีดังนี้ 1. ความเค็ม
       
กุ้งกุลาดำเป็นกุ้งที่สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงของความเค็มได้ในช่วงกว้าง และถ้าความเค็มเปลี่ยนแปลง
อย่างช้าๆ สามารถปรับตัวอยู่ที่ความเค็มเกือบศูนย์เป็นเวลานานพอสมควรหรือความเค็มที่เพิ่มขึ้นจนถึง 45 ppt. แต่ความเค็มที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 10-15 ppt. 2. ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)
       pH 
ของน้ำมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของกุ้งกุลาดำมาก เนื่องจากpH ของน้ำนั้นมีผลต่อคุณสมบัติ

ของน้ำตัวอื่นๆ เช่นความเป็นพิษของแอมโมเนียและไฮโดรเจนซัลไฟด์ เป็นต้น pH ที่เหมาะสมแก่การเลี้ยงกุ้ง ควรอยู่ระหว่าง 7.5-8.5 แต่การเจริญเติบโตที่ดีที่สุดในบ่อจะอยู่ที่ pH ของน้ำระหว่าง 8.0-8.5 การเปลี่ยนแปลง
pH 
ของน้ำในบ่อขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น คุณสมบัติของดิน ค่าความเป็นด่างของน้ำ การผลิตและ

การใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำซึ่งส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับปริมาณแพลงก์ตอนพืช3. ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ
       
ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำมีผลต่อการกินอาหาร การเจริญเติบโตและสุขภาพของกุ้ง ถ้าปริมาณ
ออกซิเจนต่ำเกินไปอาจมีผลทำให้กุ้งตายได้ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในบ่อเลี้ยงจะเปลี่ยนแปลงคล้ายกับ pH คือ มีค่าต่ำสุดในตอนเช้ามืดเนื่องจากการใช้ไปในการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยจุลินทรีย์ในบ่อ และการหายใจ
ของสิ่งมีชีวิตในบ่อ หลังจากนั้นแพลงก์ตอนพืชเริ่มมีการสังเคราะห์แสงปริมาณออกซิเจนจะเพิ่มขึ้นและสูงสุด
ในตอนบ่าย ความสามารถในการละลายของออกซิเจนในน้ำขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความเค็มของน้ำ โดยที่น้ำ
ที่มีความเค็มและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นออกซิเจนจะละลายน้ำได้น้อยลง ปริมาณออกซิเจนที่เหมาะสมควรอยู่
ระหว่าง 4 ppm. จนถึงจุดอิ่มตัว4. แอมโมเนียและไนไตรท์
      
ในบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบพัฒนานั้นจะมีปริมาณของสารประกอบไนโตรเจนที่ก้นบ่อเป็นจำนวนมาก
ซึ่งอาจเกิดจากขบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยจุลินทรีย์ที่ก้นบ่อแล้วปล่อยแอมโมเนียออกมา นอกจาก
นั้นสัตว์น้ำยังปล่อยของเสียออกมาในรูปของแอมดมเนียสู่แหล่งน้ำโดยตรงในสภาวะที่มีออกซิเจนแบคทีเรีย
จำพวก nitrifying bacteria จะเปลี่ยนแอมโมเนียเป็นไนไตรท์และไนเตรท ตามลำดับ       แอมโมเนีย เป็นสารประกอบไนโตรเจนที่เป็นพิษต่อสัตว์น้ำ แอมโมเนียที่พบอยู่ในน้ำจะอยู่ใน รูปแบบ คือ แอมโมเนียซึ่งเป็นพิษต่อสัตว์น้ำ และแอมโมเนียมอิออนซึ่งไม่เป็นพิษต่อสัตว์น้ำ ในการวัด
แอมโมเนียโดยทั่วไปจะวัดรวมทั้งสองรูปแบบ แอมโมเนียทั้งสองรูปแบบนี้จะเปลี่ยนกลับไปมาตาม pH และอุณหภูมิของน้ำ โดยเฉพาะถ้า pH สูงขี้นอัตรส่วนของแอมโมเนียที่เป็นพิษจะสูงขึ้น ทำให้ความเป็นพิษ
ต่อสัตว์น้ำจะมากขึ้นด้วย ซึ่งในบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำปริมาณแอมโมเนียในรูปที่เป็นพิษไม่ควรเกิน 0.1 ppm.5. ไฮโดรเจนซัลไฟด์
       
การเกิดไฮโดรเจนซัลไฟด์ เนื่องจากในสภาพก้นบ่อที่ขาดออกซิเจนจะทำให้แบคทีเรียบางชนิด
ที่สามารถใช้กำมะถันในการย่อยสลายสารอินทรีย์ได้ ย่อยสลายสารอินทรีย์บริเวณพื้นบ่อได้เป็นสารประกอบ
ซัลไฟด์ :ซึ่งสารประกอบซัลไฟด์ที่อยู่ในรูปของ H2S จะมีปริมาณมากขึ้นเมื่อ pH ของน้ำต่ำลง และก็จะทำให้
มีความเป็นพิษสูงขึ้นด้วย ระดับความเข้มข้นของไฮโดรเจนซัลไฟด์สูงสุดที่ไม่เป็นอันตรายต่อกุ้งกุลาดำ คือ 0.033 ppm.


การเปลี่ยนถ่ายน้ำ 
     
 การเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นการช่วยชะล้างธาตุอาหารและแพลงก์ตอนพืชออกจากบ่อช่วยกำจัดสารพิษ
ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต เช่น แอมโมเนีย และยังช่วยปรับระดับความเค็มและอุณหภูมิไม่ให้สูงมากเกินไป การระบายน้ำทิ้งควรระบายน้ำในส่วนที่ใกล้พื้นบ่อ และประตูระบายน้ำควรอยู่ตรงข้ามกับประตูน้ำเข้า อัตราการเปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์ของปริมาตรน้ำในบ่อต่อวัน ถ้ามีฝนตกมากต้องระบาย
น้ำชั้นบนออกและเมื่อเลี้ยงกุ้งไปแล้ว เดือน ควรเปลี่ยนอวนกรองน้ำที่ประตูระบายน้ำออกให้มีตาที่โตขึ้น
เพื่อระบายน้ำได้สะดวก

การรักษาและฟื้นฟูสภาพพื้นบ่อระหว่างเลี้ยง

สารอินทรีย์ต่างๆ เช่น เศษอาหารที่เหลือ ขี้กุ้ง ขี้แดด ตลอดจนซากสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในบ่อเลี้ยงกุ้ง
จะตกทับถมลงสู่ก้นบ่อ ดังนั้นก่อนที่น้ำในบ่อจะเน่าเสียมักพบว่าพื้นบ่อเน่าเสียก่อนเสมอ ซึ่งกุ้งเป็นสัตว์
ที่หากินตามพื้น เมื่อสภาพพื้นบ่อเริ่มเสียย่อมเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กุ้งเป็นโรคดังนั้นหลังจากปล่อยกุ้ง
ลงเลี้ยงแล้วประมาณ 1/2 เดือน ควรตรวจสภาพพื้นบ่ออย่างสม่ำเสมอย่างน้อย 7-15 วันต่อครั้ง เมื่อพบว่า
ของเสียต่างๆ ถูกกระแสน้ำพัดพาไปรวมที่ใดก็ควรจะกำจัดออกโดยเร็วก่อนที่พื้นบ่อจะเน่าเสีย ทั้งนี้การรักษาและฟื้นฟูสภาพพื้นโดยรอบชานและพื้นบ่อนอกจากจะช่วยรักษาและฟื้นฟูสภาวะแวดล้อมภายในให้เหมาะสมแก่การอยู่อาศัยของกุ้งแล้วยังเป็นการป้องกันไม่ให้กุ้งเกิดโรคอีกด้วย 

ประเภทของอาหารกุ้ง

1. อาหารธรรมชาติ หมายถึง พืชน้ำ สัตว์น้ำเล็กๆ เช่นแพลงก์ตอน สัตว์หน้าดินที่มีอยู่ในบ่อหรือติดมากับ
น้ำทะเลที่ใช่ถ่ายเทน้ำเข้าสู่บ่อ   กุ้งที่เลี้ยงจะได้รับอาหารนี้ส่วนหนึ่งเพื่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิต
ในสภาพปกติ


2. อาหารสด หมายถึง อาหารที่ผู้เลี้ยงนำมาให้กุ้งในบ่อกินโดยไม่ผ่านกระบวนการใดๆ เป็นอาหารดิบ เช่น
   
ปลาสด หอย หมึก กากถั่ว แป้ง วิตามินและแร่ธาตุอาหารชนิดต่างๆ แล้วผ่านขบวนการอัดเป็นเม็ดให้มี

   
ขนาดพอเหมาะกับวัยและขนาดของกุ้ง

การให้อาหาร
      
เนื่องจากอาหารเป็นต้นทุนที่สูงที่สุดในการเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนาดังนั้นผู้เลี้ยงควรให้ความสนใจใน
การควบคุมปริมาณอาหารเพื่อลดการสูญเสียอาหารไปโดยเปล่าประโยชน์ให้น้อยที่สุด

ปัจจัยที่ทำให้อาหารสูญเสีย

1. 
อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันทำให้กุ้งกินอาหารได้น้อยลงอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการ
เจริญเติบโตคือ 25-30 องศาเซลเซียสถ้าอุณหภูมิต่ำลงกุ้งจะไม่ค่อยกระปรี้กระเปร่า กินอาหารได้น้อย เจริญเติบโตช้า ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียส กุ้งจะไม่กินอาหาร ดังนั้นเมื่ออุณหภูมิลดต่ำก็ควร
ลดปริมาณอาหารที่ให้ลงหรืองดอาหารในมื้อเช้า

2. 
กุ้งที่เป็นโรคหรือสุขภาพไม่ดี ทำให้การใช้อาหารไม่เต็มประสิทธิภาพ

3. 
มีการให้อาหารมากเกินไป

4. 
ถูกสัตว์อื่นๆแย่งกินไป

5. 
อาหารเสื่อมคุณภาพ เนื่องจากเก็บไว้นานเกินไป

6. 
อาหารมีคุณค่าสูงเกินความจำเป็น

7. 
อาหารตกหล่นระหว่างตักและลำเลียง

ข้อควรปฎิบัติในการให้อาหารกุ้ง

1.
ผู้เลี้ยงควรบันทึกจำนวนและราคาอาหารเพื่อทำให้รู้ปริมาณอาหารและต้นทุนที่ใช้ในการผลิตกุ้งแต่ละรุ่น2.การให้อาหารควรจำกัดปริมาณ พึงระลึกไว้เสมอว่าเมื่อกุ้งมีขนาดโตขึ้นอัตราการกินอาหารจะลดน้อยลง
(
หลังจาก สัปดาห์ไม่ควรเกิน 3-5 ของน้ำหนักตัวต่อวันหรือไม่ควรเกินความจุของกระเพาะลำไส้ต่อมื้อ)
 ควรแบ่งให้ในอัตราส่วนที่เหมาะสมครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้งอย่างน้อย 4-6มื้อต่อวันเพื่อให้กุ้งมีอาหารกิน
อย่างต่อเนื่องในกรณีที่มีอาหารเหลือควรชะลอการให้อาหารในมื้อถัดไปไว้ก่อนจนกว่าอาหารที่เหลือจะหมด3.การเลี้ยงกุ้งกุลาดำบริษัทผู้ผลิตอาหารมักจะกำหนดปริมาณอาหารที่ใช้เลี้ยงกุ้งแต่ละวัยให้เกษตรกรผู้เลี้ยง
ถือปฎิบัติ เกษตรกรพึงระลึกไว้เสมอว่า ในทางปฏิบัตินั้น ควรให้อาหารน้อยกว่าปริมาณที่กำหนดไว้แต่จะมากน้อย
เพียงใดจึงจะเหมาะสมนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพของกุ้งและอาหารธรรมชาติที่มีอยู่ในบ่อเลี้ยงนั้นด้วยและต้องคำนึงถึง
เสมอว่า เมื่อสภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปการกินอาหารของกุ้งย่อมเพิ่มหรือลดตามไปด้วย4.การเปลี่ยนแปลงอาหารแต่ละชนิดแต่ละเบอร์ ในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแต่ละระยะต้องปรับอย่างค่อยเป็นค่อยไป
อย่างน้อย 5-7 วัน5.ควรให้อาหารที่พอดีกับความต้องการของกุ้งและต้องมีการตรวจสอบประสิทธิภาพการให้อาหารของกุ้งเสมอ ก่อนที่จะให้อาหารมื้อต่อไป6.นอกจากจะทำการหว่านอาหารให้ทั่วบ่อแล้วต้องทำยอใส่อาหารอย่างน้อยไร่ละ ยอเพื่อตรวจสอบว่ากุ้งกิน
อาหารหมดหรือไม่ ถ้ากินอาหารหมดแสดงว่าอาหารไม่พอ ต้องเพิ่มอาหารที่หว่านอีกหน่อย หากอาหารเหลือ
ในยอก็ให้ลดปริมาณ ควรทำการตรวจสอบทุกมื้อหลังจากการให้อาหารแล้วชั่วโมง7.ถ้าพบกุ้งในยอสีดำ ผิวหยาบ ก็ควรมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำ ดิน และอาหาร8.ถ้าพบกุ้งลอกคราบ ก็ลดอาหารลงประมาณ 2-3 วัน หลังจากนั้นก็เพิ่มอาหารมากขึ้นเพราะช่วงนี้กุ้งกินอาหารมาก

การคำนวณอาหารและหว่านอาหาร

       
ปริมาณอาหารที่จะให้กุ้งกินถ้าให้อาหารมากเกินควรอาหารที่เหลือสะสมเพิ่มความสกปรกของพื้นบ่อเมื่อ
นานๆ ก็จะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคบางชนิดได้ เช่นโรคหางไหม้ โรคเหงือกดำ เป็นต้น แต่การอาหารน้อยเกินไป
ก็จะมีผลให้กุ้งกินกันเองและกุ้งได้รับอาหารไม่เพียงพอก็จะผอมอ่อนแอทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย ดังนั้น หากผู้เลี้ยงเข้าใจถึงหลักเกณฑ์ในการคำนวณอาหารที่ถูกต้องก็จะทำให้ลดปัญหาในการเลี้ยงได้มากทีเดียว       เมื่อกุ้งอายุได้ เดือน จะสามารถใช้ยอเช็คการกินอาหารได้แล้วคือ หลังจากหว่านอาหารเสร็จจึงใส่อาหาร
ในยอและเช็คอาหารตามเวลาที่กำหนด การปรับปริมาณอาหารให้ดูจากการกินอาหารในยอ คือ หากกุ้งกินอาหารในยอหมดให้เพิ่มอาหาร แต่หากบางยอหมดบางยอยังเหลืออยู่ให้คงปริมาณอาหารไว้เท่าเดิม และถ้าปริมาณอาหาร
ในยอเหลือทุกยอก็ให้ลดปริมาณอาหารลง       เมื่อกุ้งอายุประมาณ 45 วัน (มีน้ำหนัก 4-5 กรัม) กุ้งจะมีขนาดโตพอที่จะทอดแห (ใช้แหเอ็นตาเล็กสุดคือ
0.5 
ซม.) เพื่อสุ่มหาปริมาณกุ้งที่เหลือในบ่อ และดูการเจริญเติบโตของกุ้งไปพร้อมๆ กันโดยมีการชั่งน้ำหนักและ

วัดความยาวของกุ้ง หลังจากนั้นนำมาคำนวณหาผลผลิตกุ้งทั้งหมดในบ่อ       ปริมาณกุ้งที่เหลือในบ่อหาได้โดยการใช้แหสุ่มทอดในหลายๆ จุด จดบันทึกจำนวนและชั่งน้ำหนักของกุ้ง
แต่ละแห แล้วนำจำนวนกุ้งที่ทอดแหได้แต่ละครั้งมารวมกันจะได้จำนวนกุ้งที่ทอดแหได้ทั้งหมด ส่วนน้ำหนักที่ชั่งได้ แต่ละแหเมื่อนำรวมกัน ก็จะได้น้ำหนักกุ้งที่ทอดแหได้ทั้งหมด เมื่อทราบพื้นที่แหโดยการคำนวณจากสูตรพื้นที่วงกลม ซึ่งเท่ากับ 3.14 x รัศมียกกำลังสอง (3.14 x รัศมี รัศมี) ข้อมูลที่ได้นำมาคำนวณหาปริมาณกุ้งที่เหลือในบ่อได้ เมื่อนำน้ำหนักเฉลี่ยมาคูณปริมาณกุ้งที่เหลือในบ่อก็จะได้น้ำหนักที่มีอยู่ทั้งหมด จากนั้นจึงไปคำนวณหา
ปริมาณอาหารที่กุ้งควรจะกินในช่วงนั้นโดยเทียบจากตารางเปอร์เซ็นต์การกินอาหารของกุ้งในช่วงอายุนั้นๆ

การจับกุ้ง

ระยะเวลาการเลี้ยงกุ้งจนจับจำหน่ายได้ ถ้าเลี้ยงจากลูกกุ้ง p 15ใช้เวลาการเลี้ยงประมาณ เดือน
ถ้าเลี้ยงจากลูกกุ้ง p 30 ใช้ระยะเวลาเพียง 3 เดือนครึ่ง โดยทั่วไปจะได้ขนาด25-35 ตัวต่อกิโลกรัม ต้องจับกุ้ง
หลังลอกคราบแล้ว 2-3 วัน กุ้งเปลือกจะแข็ง ขณะจับกุ้งควรให้อาหาร กุ้งจะได้ไม่เพลีย และจะว่ายน้ำเล่น สามารถจับได้ง่าย

1. 
จับกุ้งโดยใช้อวนเปลหรือถุงรองรับที่หน้าประตูบ่อกุ้ง โดยเปิดลิ้นชักด้านบน น้ำลึกประมาณ 15-20 ซม.
   
ค่อยทยอยลงไปควรแง้มลิ้นประตูชั้นบนให้น้ำไหลออกก่อนประมาณ 30นาที แต่ก่อนการจับจะจับด้วยวิธีนี้

2. 
จับโดยใช้อวนลากไฟฟ้า โดยปล่อยกระแสไฟฟ้าลงไปกับโซ่ตีนอวน
  
เมื่อลากพื้นบ่อกุ้งจะได้รับกระแสไฟฟ้าจึงกระโดดเข้าถุงอวนเอง

3. 
จับโดยใช้อวนลากกุ้งธรรมดา เหมาะสำหรับบ่อที่เป็นสี่เหลี่ยม
4. 
จับโดยใช้แหเหวี่ยง เหมาะสำหรับจับกุ้งขายเป็นครั้งๆละไม่มาก
5. 
จับโดยใช้คนเดินเก็บ เพราะจะมีกุ้งบางส่วนเหลือตกค้างอยู่ในบ่อเมื่อน้ำแห้ง
6. 
กุ้งที่จับมาได้ควรรีบนำมาแช่ในถังน้ำที่มีน้ำแข็งอยู่ที่อุณหภูมิ 10-15 องศาเพื่อน็อคกุ้งและทำความสะอาดกุ้ง 
  
เพื่อจะได้กุ้งที่สดและสะอาด

ตลาดกุ้ง

ตลาดกุ้งกุลาดำในปัจจุบันเป็นตลาดที่นับว่าดีมาก เนื่องจากความต้องการของทั้งตลาดภายในประเทศและภายนอกประเทศมีมาก ประกอบกับผลผลิตที่น้อยลง ทำให้ราคากุ้งกุลาดำมีราคาค่อนข้างสูง ตลาดกุ้งที่สำคัญได้แก่ 1.ห้องเย็น เป็นตลาดที่ต้องการกุ้งทะเลที่มีขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น
   
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศในยุโรป
2. สะพานปลา เป็นตลาดกุ้งภายในประเทศ โดยใช้วิธีประมูลราคาซึ่งราคากุ้งจะขึ้นอยู่กับปริมาณกุ้งที่เข้ามา
   
ในแต่ละวัน        นอกจากตลาดทั้ง แห่งแล้วยังมีภัตตาคารหรือห้องอาหารที่ต้องการกุ้งเป็นๆ โดยจะออกรับซื้อตามปากบ่อ ซึ่งจะให้ราคาสูงแต่ปริมาณความต้องการไม่มากนักและไม่แน่นอนในแต่ละวัน 


แหล่งที่มา: http://www.fisheries.go.th/if-songkhla/web2/index.php?option=com_content&view=article&id=4:a2&catid=4:2009-08-04-06-32-16&Itemid=13

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ 
     เป็นวิธีการเลี้ยงปลาอีกวิธีหนึ่งที่สามารถเลี้ยงกันได้ง่าย และสำหรับสถานที่ก็ใช้พื้นที่ไม่เยอะ และสามารถเคลื่อนย้ายท่อปูนซีเมนต์ได้ง่ายด้วย ค่าลงทุนในการการเลี้ยงก็ไม่มากสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพเสริมได้ ส่วนผลตอบแทนก็เป็นที่น่าภูมิใจ จากการลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ร่วมด้วย ช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด จ.สงขลา ได้พบกับคุณชาลี สุวรรณชาตรี อยู่บ้านเลข ที่ 319 ม.18 ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา เกษตรกรผู้ที่เลี้ยงปลาดุกในท่อ ปูนซีเมนต์ ได้บอกถึงวิธีการเลี้ยงปลาดุกด้วยระบบชีวภาพซึ่งมีขั้นตอนการ เลี้ยงดังนี้ 

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การเตรียมอุปกรณ์
1.ท่อปูนซีเมนต์ขนาด 100*50 เซนติเมตร
2.ท่อพีวีซี ขนาด 1 นิ้ว ยาว 20 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น และยาว 40 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น
3.ข้องอพีวีซีขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 อัน
4.ยางนอกรถสิบล้อจำนวน 1 เส้น
5.ยางนอกรถจักรยานยนต์จำนวน 1 เส้น
6.ตาข่าย
7.น้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
8.ปูน ทราย หิน
9.อาหารสำหรับเลี้ยงปลาดุก
10.พืชผักที่ปลากิน เช่น ผักบุ้ง ผักตบชวา ฯลฯ
11.ลูกปลาดุก 70-80 ตัว

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การเตรียมบ่อปูนซีเมนต์สำหรับเลี้ยงปลาดุก
1.จะต้องทำการฆ่ากรดฆ่าด่างในบ่อปูน โดยให้นำหัวกล้วยหรือโคนกล้วยมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ นำมูลวัวมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำใส่ไปในบ่อใส่น้ำให้เต็ม แล้วหมักไว้ 5 วัน จากนั้นให้เปิดน้ำทิ้งแล้วเอาโคนกล้วยออกทิ้งด้วย
2.นำน้ำสะอาดใส่ไปในบ่อแล้วแช่ทิ้งไว้ 1 วัน หลังจากนั้นก็ให้เปิดน้ำทิ้ง
3.นำผักบุ้งมาถูให้ทั่วบ่อ ทิ้งไว้ตากบ่อให้แห้ง
การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การทำน้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
1.ถังพลาสติกที่มีฝาปิดจำนวน 1 ถัง
2.น้ำตาลทรายแดง 3 กิโลกรัม
3.ฟักทองแก่ 3 กิโลกรัม
4.มะละกอสุก 3 กิโลกรัม
5.กล้วยน้ำหว้าสุก 3 กิโลกรัม

วิธีทำน้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
หั่นมะละกอ, กล้วยน้ำหว้า, ฟักทองทั้งเปลือกและเมล็ดใส่ไว้ในภาชนะที่มีฝาปิด ผสมน้ำตาลทรายแดง แล้วคนให้เข้ากันและปิดฝาให้แน่นหมักทิ้งไว้ 7 วัน แล้วเติมน้ำสะอาด 9 ลิตร ปิดฝาให้แน่นแล้วหมักต่ออีก 15 วัน

ประโยชน์
-เป็นฮอร์โมนพืช เร่งดอก เร่งผล รสชาติหวานอร่อย
-ปลาไม่เป็นโรค
-ปลาไม่มีกลิ่นสาบ
-ปลาไม่มีมันในท้อง
-ปลาจะมีเนื้อหวานรสชาติอร่อย

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การเลี้ยง
1.นำท่อปูนที่มีรอยคราบผักบุ้ง หรือบ่อปูนที่ไม่มีกรดไม่มีด่าง ใส่น้ำให้มีความสูง 10 เซนติเมตร (ช่วงปลาขนาดเล็ก เพิ่งนำมาปล่อย) แล้วเติมน้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะ
2.นำปลาดุกมาแช่น้ำในบ่อปูนทั้งถุง แล้วค่อยๆเปิดปากถุงให้ปลาว่ายออกมาเอง


3.วันแรกที่นำปลามาปล่อยไม่ต้องให้กินอาหาร
4.นำพืชผักที่ปลากิน เช่นผักบุ้ง ผักตบชวาและอื่นๆมาใส่ในบ่อ
5.การให้อาหาร ปลา 1 ตัวให้อาหาร 5 เม็ด/เมื้อ ในช่วงปลาเล็กให้อาหารวันละ 2 เมื้อ เช้า-เย็น ปลาอายุ 1 เดือนครึ่งให้อาหารปลาขนาดกลาง โดยให้อาหารวันละ 1 ครั้ง ให้ปลากินตอนเย็น

หมายเหตุ ก่อนให้อาหารต้องนำอาหารมาแช่น้ำก่อนเสมอประมาณ 10-15 นาที
เหตุผลเพื่อ
1.ปลาจะได้กินอาหารทุกตัว
2.ปลาตัวที่แข็งแรงจะทำให้ท้องไม่อืด
3.ปลาไม่ป่วย
4.การเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน
5.อาหารไม่เหลือในบ่อและน้ำก็ไม่เสีย
6.ถ่ายน้ำทุกๆ 7 วัน หรือ 10 วัน/ครั้ง ทุกครั้งที่ถ่ายน้ำจะต้องใส่น้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะเสมอ

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การจำหน่าย
1.ก่อนจะจำหน่าย 2 วัน ให้นำดินลูกรังสีแดงหรือซังข้าวมาแช่ไว้ในบ่อ จะทำให้ปลาดุกมีสีเหลืองสวย ขายได้ราคาดี
2.ปลาดุก 3 เดือนครึ่ง จำนวน 70 ตัว จะมีน้ำหนัก 14-15 กิโลกรัม หรือประมาณ 4-5 ตัว/กิโลกรัม จำหน่ายได้กิโลกรัมละ 60-70 บาท
3.ต้นทุนอาหารกิโลกรัมละ 19-20 บาท หมายเหตุ ต้นทุนครั้งแรก 1 ชุด 430 บาท น้ำที่ถ่ายทิ้งจากบ่อปลาสามารถนำมารดต้นไม้ พืชผักสวนครัว เป็นปุ๋ยอย่างดี


แหล่งที่มา: http://www2.oae.go.th/zone/zone4/board/index.php?topic=88.0

การเลี้ยงสุกร


ความเป็นมาเมื่อวันที่ 22 - 23 มีนาคม 2548 คณะครูศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสูงเม่นได้เข้าร่วมอบรมโครงการถ่ายเทคโนโลยี การผลิตหมูหลุม เพื่อสร้างรายได้ และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 7 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่
การเลี้ยงสุกรแบบเกษตรธรรมชาติของเกาหลี (หมูหลุม) นอกจากจะให้กำไรงามแก่ผู้เลี้ยงแล้ว ยังสามารถลดต้นทุนอาหารได้ ถึง 70 % ทำให้ภาระการเลี้ยงหมูของเกษตรกรเบาแรงลง เนื่องจากเกษตรกร ไม่ต้องกวาดพื้นคอก กำจัดขี้หมู ไม่มีกลิ่นเหม็นของขี้หมูรบกวน พื้นคอก ไม่เฉอะแฉะ และไม่มีแมลงวันตอม

แนวคิดที่เลี้ยงสุกรแบบเกษตรธรรมชาติ (หมูหลุม)1. ต้องการศึกษา เรียนรู้ วิธีการ เลี้ยงสุกรแบบธรรมชาติ และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเรียนรู้การแก้ไขปัญหาที่เผชิญได้ด้วยตัวเอง
2. เป็นแนวทางการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชน ตามภารกิจงานการศึกษานอกโรงเรียน
3. เป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัว มีส่วนร่วมในกระบวนการคิด บริการจัดการสร้างความสัมพันธ์กับครอบครัวอยากให้ชาวบ้าน และแนวทางการเลี้ยงในการแก้ปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น

โรงเรือน 


สุกร 10 ตัว จะใช้พื้นที่ในการเลี้ยงขนาดความกว้าง 3 เมตร x ความยาว 6 เมตร หลังคายกสูงให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก

ลักษณะของโรงเรือน1. ตั้งอยู่บนที่สูง ที่ดอน
2. สร้างโรงเรือนตามแนวทิศทางของตะวันออก – ตะวันตก
3. วัสดุมุงหลังคาควรเป็นกระเบื้อง หรือ คา
4. หลังคาสูง – เอน เช่น
- เพิงหมาแหงน
- เพิงหมาเหงนกลาย
- แบบจั่ว
- จั่ว 2 ชั้น
- จั่ว 2 ชั้นกลาย

พื้นคอกการเตรียมคอก
ขุดดินออกไปทั้งหมด ให้ลึกประมาณ 90 เซนติเมตร ปรับขอบรอบๆ แล้วผสมวัสดุเหล่านี้ ใส่แทนดินที่ขุดออกไป วัสดุที่ใช้ได้แก่
- ขี้เลื่อย หรือ แกลบหยาบ 100 ส่วน
- ดินที่ขุดออก 10 ส่วน
- เกลือ 0.3 - 0.5 ส่วน

นำวัสดุเหล่านี้ คลุกเคล้าผสมกัน ลงไป 30 เซนติเมตร ใช้จุลินทรีย์ที่ได้จากการหมักพืช  จุลินทรีย์เชื้อราขาวจากป่าไผ่ อัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร ราดลงบนวัสดุรองพื้น โรยดินชีวภาพเชื้อราขาวบางๆ ชั้นที่ 2 และ 3 ทำเหมือนชั้นแรก ชั้นสุดท้ายโรยแกลบดิบ ปิดหน้า หนึ่งฝามือ
การเตรียมหลุม และพื้นคอกหมูหลุมอาหารและการให้อาหาร
- ถังน้ำ และรางอาหาร ควรตั้งไว้คนละด้าน เพื่อหมูจะเดินไปมาเป็นการออกกำลังกาย
การเริ่มต้นเลี้ยงสุกร เมื่อหย่านม จะเป็นการดีที่ฝึกวิธีการเลี้ยงแบบธรรมชาติ การให้อาหารให้เพียงวันละ 1 ครั้ง (ปรับตามความเหมาะสม)

อาหารที่ให้ใช้พืชผักสีเขียว เป็นอาหารเสริม อาหารหมัก ใช้ผักสีเขียว หยวกกล้วย มะละกอดิบ ใบบอน วัชพืชต่างๆ ที่หมูชอบ สับผักเป็นชิ้นเล็กๆ คลุกน้ำตาลทรายแดง โดยหมักในอัตราส่วน 100 : 4 : 1 คือ ใช้พืช 100กิโลกรม : น้ำตาล 4 กิโลกรม : เกลือ 1 กิโลกรัม นำไปเลี้ยงสุกรโดยผสมปลายข้าว รำอ่อน ก็จะช่วยลดต้นทุนในการเลี้ยง

ขั้นตอนการเตรียม อาหาร และน้ำดื่ม สำหรับสุกร 1. น้ำดื่มสำหรับหมูหลุมสำหรับ น้ำ 1 ถัง ( 20 ลิตร) ส่วนผสมน้ำดื่มให้สุกร
1. หัวเชื้อจุลินทรีย์ผัก หรือผลไม้ 2 ช้อนโต๊ะ
2. น้ำฮอร์โมน สมุนไพร 2 ช้อนโต๊ะ (เหล้าดองยา)
3. นมเปรี้ยว 2 ช้อนโต๊ะ
4. น้ำหมักแคลเซียม 2 ช้อนโต๊ะ
5. น้ำสะอาด 20 ลิตร
ผสมให้ดื่มเป็นประจำทุกวัน หากพื้นคอกสุกรแน่น หรือแข็ง ก็ใช้น้ำดังกล่าวราดบนพื้นคอก
จะทำให้เกิดกลิ่นหอม จูงใจให้สุกรขุดคุ้ยเป็นการกลับหน้าดิน ช่วยให้พื้นคอกร่วนโปร่ง มีอากาศถ่ายเท เกิดจุลินทรีย์มากมาย

2. การทำอาหารหมักวัสดุอุปกรณ์
1. ผักใบเขียวต่างๆ หยวกกล้วย ใบบอน พืชใบเขียว
2. ถุงพลาสติก
3. น้ำตาลทรายแดง
4. เกลือป่น หรือเกลือเม็ด
5. กระดาษสีขาว
6. เชือกฟาง
วิธีนำอาหารหมักไปใช้ ใช้อาหารหมัก 7 ส่วน ต่อ อาหารเม็ด 1 ส่วน ต่อรำ 2 ส่วน หรือ 7 : 1 : 2 ถ้าคิดเป็น 100 % (อาหารหมัก 70 % : อาหารเม็ด 15 % : รำ 15 % ) สามารถปรับได้ตามความต้องการของผู้เลี้ยง

 การทำอาหารหมักจากพืช                                              
     อาหารหมักจากพืชที่ผสมเรียบร้อยแล้ว

3. การทำน้ำหมักผลไม้วัสดุอุปกรณ์
1. ผลไม้สุก / ดิบ
2. น้ำตาลทรายแดง
3. ขวดโหล / ถัง / โอ่ง (สำหรับหมัก)
4. เชือกฟาง
5. กระดาษขาว


น้ำหมักผลไม้ และยาดองสำหรับเลี้ยงสุกร
วิธีทำ1. เตรียมผลไม้ ควรเป็นผลไม้ที่สุกจัด หรือร่วงตกใต้ต้น เช่น มะม่วง องุ่น มะละกอ สับปะรด มะเฟือง กล้วย ฯลฯ ถ้ามีผลไม้ไม่พอก็สามารถเติมพืช อื่นเป็นส่วนประกอบได้ เช่น รากผักขม มันแกว มันเทศ แครอท มันสำปะหลัง พืชตระกูลแตง หัวผักกาด เป็นต้น หากผักหรือผลไม้ที่ใช้หมัก มีมากพอก็สามารถทำเป็น ชนิดเดียวกัน
2. ใช้ผลไม้หมัก 1 กิโลกรัม ต่อน้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม (ในฤดูร้อน) ส่วนในฤดูหนาวเพิ่มน้ำตาล ทรายแดง ½ กิโลกรัม (น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกผสมในผลไม้ และส่วนที่ 2 ใช้โรยหน้า)
3. ล้างภาชนะที่จะใช้หมัก และตากแดงให้แห้ง
4. ชั้นที่อยู่ก้นภาชนะให้วางเรียงวัตถุดิบเป็นชั้นๆ โรยน้ำตาลทรายแดงปิดทับเป็นชั้นๆ โรยน้ำตาลทราบแดงทับจนหมด (ให้เหลือที่ว่างห่างจากปากภาชนะ 1/3 ของความสูงของภาชนะ) จากนั้น ใช้น้ำตาลส่วนที่เหลือปิดทับด้านหน้าให้หนา เพื่อป้องกันอากาศ ควรใส่ผลไม้ที่มีความความหวานไว้ด้านล่าง โดยเรียงลำดับตามความหวาน ผลไม้ที่ให้ความหวานน้อยที่สุดให้ใส่ชั้นบนสุด ผลไม้ที่เป็นชิ้นเล็กๆ เช่นองุ่น ให้ใช้มือที่สะอาดบีบให้แตกขณะนำไปหมักในโอ่ง หรือภาชนะหมัก
6. คลุมปากภาชนะด้วยกระดาษขาว และมัดปากภาชนะด้วยเชือก
7. ในฤดูร้อน กระบวนการหมักใช้เวลา 4 – 5 วัน ส่วนในฤดูฝนกระบวนการหมักใช้เวลา 7 – 10 วัน ส่วนในฤดูหนาว จะใช้เวลาในการหมัก 10-15 วัน
8. เก็บภาชนะหมักไว้ในที่ร่ม และมีอากาศเย็น ไม่ให้ถูกแสงแดด ไม่ควรปิดภาชนะในระหว่าง
กระบวนการหมัก กำลังดำเนินการอยู่

วิธีการนำไปใช้- ใช้น้ำหมักในอัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร
- ใช้พ่นกับพืชเมื่อเข้าสู่ระยะเปลี่ยนวัย ( เข้าสู่การออกดอกออกผล)
- รดพื้นคอก ผสมให้หมูกิน รดผัก

4. การทำน้ำแคลเซียมวัสดุอุปกรณ์
1. กระดูก เปลือกไข่
2. น้ำซาวข้าว , น้ำมะพร้าว
3. ถังพลาสติก
4. เครื่องผลิตออกซิเจนใส่ตู้ปลา
5. น้ำตาลทราย

วิธีทำ1. รวบรวมเปลือกไข่ นำไปตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาบดให้ละเอียด
2. เปลือกไข่ 1 กิโลกรัม ต่อน้ำซาวข้าว 20 ลิตร
3. นำเปลือกไข่ที่บดละเอียดใส่ภาชนะ เติมน้ำซาวข้าว และน้ำ ทิ้งช่องอากาศอยู่ประมาณ
30 % เปิดฟองอากาศทิ้งไว้ ประมาณ 20 วัน จะเกิดฟองปฏิกิริยาขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4. เมื่อใส่ออกซิเจนครบ 20 วันแล้ว ให้เติมน้ำตาล 1 กิโลกรัม ลงไป

วิธีนำไปใช้- ใช้น้ำหมักแคลเซียมในอัตรา 2 ช้อน ต่อน้ำ 10 ลิตร
- ฉีดพ่น พืช ผัก
- ใช้ผสมในน้ำให้หมูกิน
- ใช้ผสมกับน้ำทะเล ในการรดผลไม้ในระยะออกผล เพิ่มความหวานให้กับผลไม้
5. การทำนมเปรี้ยว (โยเกิร์ต)วัสดุอุปกรณ์1. น้ำซาวข้าว
2. รำละเอียด
3. ถัง
4. ขวดโหล
5. นมสดพลาสเจอร์ไรด์ (นมจืด)
6. สายยาง
7. กระดาวข้าว
8. เชือกฟาง

วิธีทำ1. นำน้ำซาวข้าวใส่ภาชนะที่มีความสูง 15 เซนติเมตร โดยให้เหลือพื้นที่ในภาชนะ 1/3 ส่วน สำหรับอากาศ นำกระดาษขาวปิด ผูกเชือก ใช้เวลาในการหมัก 5 - 7 วัน เก็บไว้ในที่มีอุณหภูมิประมาณ 20 – 25 องศาเซลเซียส แบคทีเรียจะเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว และมีกลิ่นเปรี้ยวออกมา
2. นำรำละเอียดโรยปิดหน้าน้ำซาวข้าวหมักทิ้งไว้ 2 วัน หลังจากนั้นใช้สายยางทำการลักน้ำออกมาใส่ภาชนะที่เตรียมไว้โดยไม่ให้มีตะกอนติดออกมาพร้อมกับน้ำที่ลักออกมา โดยใช้น้ำที่ได้ 1 ส่วน ต่อนมสดพาสเจอไรด์ ลงไป 10 ส่วน เติมน้ำตาลทรายแดงลงไป ½ กิโลกรัม ของวัตถุดิบทั้งหมด ใช้กระดาษปิด ผูกเชือกทิ้งไว้ 5 - 7 วันจึงนำไปใช้

วิธีการนำไปใช้ - ใช้นมเปรี้ยวในอัตรา 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร
- ผสมให้หมูกิน
- รดพื้นคอก

6. การทำหมากฝรั่ง หมูวัสดุอุปกรณ์
1. ไม้เนื้ออ่อน (ไม้กระถิน ฉำฉา ไมยาราบ)
2. ถังพลาสติก
3. กระสอบฟาง
4. เชือกฟาง
5. หัวเชื้อฮอร์โมนสมุนไพร
6. น้ำตาลทรายแดง

วิธีทำ1. เตรียมไม้เนื้ออ่อน มาตัดเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 1 คืบ
2. เตรียมน้ำ 10 ลิตร ต่อ เหล้าสมุนไพร 2 –3 ช้อนโต๊ะ ต่อ น้ำตาลทราย
แดง ครึ่งกิโลกรัม ผสมให้เข้ากันแล้วนำไม้เนื้ออ่อนที่เตรียมไว้ลงมาแช่ ใช้กระสอบฟางปิดปากภาชนะไว้ แล้วใช้วัสดุที่หนักทับเพื่อให้ไม้จมน้ำตลอดเวลา
3. กระบวนการหมักใช้เวลา 10 - 15 วัน จึงใช้งานได้

วิธีการนำไปใช้- โยนให้หมูกิน (นำท่อนไม้กลับมาใช้ใหม่ได้ 2 - 3 ครั้ง)
หมายเหตุ ยาดองเป็นชุด ตัวยารวมกัน 3 ตัวขึ้นจะดี
7. การทำเชื้อราขาวจากใบไผ่
วัสดุอุปกรณ์1. กล่องไม้สี่เหลี่ยม สูง 10 เซนติเมตร กว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร
2. ข้าวสุก 1 ลิตร
3. พลาสติก
4. ทัพพีตักข้าว
5. กระดาวขาว
6. เชือกฟาง
7. ตะแกรง
8. น้ำตาลทรายแดง
9. ขวดโหล

 
วิธีทำ1. หุงขาวให้สุก ทำให้เย็น แล้วนำข้าวใส่ในกระบะ เกลี่ยให้ทั่วกระบะ
2. นำกระดาษขาวมาคลุมกระบะ แล้วมัดด้วยเชือกฟางให้แน่น
3. ขุดหลุม บริเวณใกล้ต้นไผ่ พอกับขนาดกระบะใส่ลงไปได้ นำพลาสติกคลุมลงไปตาม
ด้วยตะแกรง วางทับข้างบน แล้วจึงนำใบไผ่ปกคลุม ให้ทั่วกระบะไม้ รดน้ำให้รอบๆ
4. กระบวนการหมัก 4 – 5 วัน ในฤดูร้อน , ฤดูฝน 6 – 7 วัน จะได้จุลินทรีย์ราขาว
คลุมเต็มผิวหน้า
5. นำเชื้อราขาวที่ได้ มาผสมน้ำตาลทราบ แล้วปิดผาหมักไว้ 7 วัน

การนำไปใช้ - อัตรา 2 ช้อน / น้ำ 10 ลิตร
- รดพื้นคอก
- รดปุ๋ยหมัก

ประโยชน์จากการเลี้ยงสุกร แบบเกษตรธรรมชาติ (หมูหลุม)1. ได้รับความรู้
2. มีรายได้เพิ่มขึ้น
3. นำปุ๋ยไปใช้ในการเกษตร
4. เผยแพร่ให้กับประชาชนสนใจ
5. เป็นตัวอย่างในการเลี้ยงหมูในเขตเทศบาล
6. เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน

หลักในการเลือกภาชนะ และวัสดุในการหมัก1. ภาชนะบรรจุควรเป็นโอ่ง หรือ ไห ปากแคบ
2. สามารถถ่ายเทอากาศได้ดี
3. ขนาดไม่ใหญ่เกินไป
หมายเหตุ ควรเก็บไว้ในที่ร่ม ใช้น้ำตาลทราย ทำการหมัก จากผลไม้ที่ฉ่ำ ต้องใช้น้ำตาล
1 / 2 ของ น้ำหมักผลไม้

รายรับ - รายจ่าย การเลี้ยงหมูหลุม (เริ่มเลี้ยงหมู ระหว่างวันที่ 5 พฤษภาคม 2548 - 20 กันยายน 2548)
ต้นทุนการเลี้ยงหมูหลุม1. ลูกหมู 10 ตัว 11,500 บาท
2. อาหารสำเร็จรูป 12 ถุง 3,700 บาท
3. รำ 40 ถังๆละ 20 บาท 800 บาท
4. น้ำตาลทรายแดง 60 กิโลๆ ละ 14 บาท 840 บาท
5. เกลือ (3 ถุง 50 บาท) 6 ถุง 100 บาท
6. เหล้าขาว 6 ถุงๆละ 20 บาท 120 บาท
7. ยาดอง 2 ถุงๆละ 20 บาท 40 บาท
8. ค่าวัสดุ + อุปกรณ์ 965 บาท
ต้นทุน รวมทั้งสิ้น 18,065 บาท
รายรับ-จากการขายหมูหมู 10 ตัว ตัวละ 66 กิโลกรัม ๆละ 43 บาท 28,380 บาท
หัก ต้นทุน 18,065 บาท
กำไรจาการขายหมู 10,315 บาท
บวก รายได้จากการขายปุ๋ย 50 กระสอบๆละ 20 บาท 1,000 บาท
รวม กำไรทั้งสิ้น 11,315 บาท 
หมายเหตุ การเลี้ยงหมู ในครั้งนี้ ต้องเรียนรู้ วิธีการเลี้ยงหมู และอยากให้ชาวบ้านเห็นช่องทางอาชีพ โดยให้ชาวบ้านใกล้เคียงนำปุ๋ยไปใช้ ในการเกษตร ปลูกผัก และทำนา

ปัญหา
1. อาหารสำเร็จรูปแพง
2. การทำจุลินทรีย์บางอย่างไม่ค่อยได้ผล
3. อาหารหมักไม่เพียงพอ
4. อาหารหมักมีกลิ่นบูด


แนวทางแก้ไข
1. ใช้ส่วนผสมจากทางการเกษตรมาใช้ในการผสมอาหาร
2. ทดลองจนได้ผล และยึดหลักวิธีการที่ถูกต้องใช้ทำต่อไป
3. ใช้ผักสดผสมในการให้อาหาร
4. เติมน้ำตาล เพิ่มเพื่ออาหรหมักมีกลิ่นหอมและดี

ขอเสนอแนะ1. ควรจัดให้มีจุดรับซื้อ และจำหน่าย สุกรแบบธรรมชาติ (หมูหลุม) ที่แน่นอน
2. ควรมีการตรวจสอบคุณภาพการเลี้ยงสุกรแบบธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง

ก่อนเริ่มการเลี้ยงหมู ควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เรื่องต่อไปนี้1. พันธุ์สุกร
2. ตลาด (ราคาซื้อ - ขาย)
3. วัตถุดิบทางการเกษตร
4. ศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา
5. ช่างสังเกต จดบันทึก

สรุป 1. อย่าเน้นของถูก ห้ามซื้อ ตามขายเร่
2. ค่อยๆเลี้ยง อย่าใจร้อน
3. การบริหารจัดการดี

ข้อดีของการเลี้ยงหมูหลุม1. ขี้หมูไม่เหม็น
2. ประหยัดค่าอาหาร 70 %
3. ให้อาหาร 2 มื้อ หรือ 1 มื้อ ตามผู้เลี้ยง
4. ให้ผักสด และพืชตลอดวัน
5. เศษอาหารจากที่เหลือ โรงครัว เพื่อนบ้าน

อาหารสุกร (เพิ่มเติม)1. อาหารสุกรธรรมชาติที่ชาวบ้านเลี้ยงในอดีต ใช้วิธีหั่นหยวกกล้วย เก็บผักหญ้า
เศษอาหาร
2. จากการไปศึกษาเลี้ยงสุกรของเกษตรกรจีน เขาใช้เศษพืชผัก ยอดมันสำปะหลังสับ
เป็นชิ้นเล็กๆ คลุกน้ำตาลทราย หรือกากน้ำตาล หมักในถุงดำขนาดใหญ่ อัตราหมัก 100 : 4 ทิ้งไว้ 4 – 5 วัน ก็นำไปเลี้ยงสุกร โดยผสมปลายข้าว รำอ่อน ก็จะช่วยลดต้นทุน โดยไม่ใช้อาหารสำเร็จเลย
3. ผลการวิจัยของ ดร.สุริยา สานรักกิจ แห่งฝ่ายเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักวิจัย
พบว่า เศษผักมี ปลอดสายพิษ 100 กก. หมักน้ำตาลทราบ หรือกากน้ำตาล 4 กก. และผสมเกลือ 1 กก. หมักในถุงดำไล่อากาศออก มัดปากถุงทิ้งไว้ 7 วัน จะได้ผักที่มีคุณภาพดี
4. อาจารย์ โช ฮาน คิว เจ้าตำราบอกว่า อาหารสุกรประมาณ 1 ใน 3 หรือ
ประมาณ 30 % ควรเป็นพืชสีเขียว ดิน IMO สามารถนำมาคลุกกับรำ และปลายข้าวนำไปผสมอาหารจากตลาดได้ครึ่งต่อครึ่ง อาจหมักกับหยวกกล้วย ที่สับเป็นชิ้นเล็กๆได้
5. การใช้สมุนไพรพื้นบ้าน ตากแห้งบดเป็นผงรวมกัน เช่น ฟ้าทะลายโจร ขมิ้น ไพล
ฝรั่งขี้นก ลูกใต้ใบ ใช้ผักบด 1 กก. ผสมอาหารแห้งทุก 100 กก. 

แหล่งที่มา: http://province.prd.go.th/phrae/mulum.htm