วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

การปลูกลิ้นจี่

การปลูกลิ้นจี่

พันธุ์ลิ้นจี่
พันธุ์ที่นิยมปลูก สำหรับทางภาคเหนือ ได้แก่ พันธุ์ฮงฮวย พันธุ์โอวเฮียะ พันธุ์กิมเจ็ง และพันธุ์จักรพรรดิ์ ส่วนทางภาคกลาง ได้แก่ พันธุ์ค่อม
พันธุ์ฮงฮวยลักษณะประจำพันธุ์ต้นที่ทรงพุ่มใหญ่ ลำ ต้น สีนํ้าตาลอมเทา ช่วงข้อบนกิ่งห่างใบหนา สีเขียว ขอบใบบิดเป็นคลื่นปลายใบไม่ค่อยแหลมใบมี 3-4 คู่ ยอดสีเหลืองอ่อนปนเขียว ให้ผลดกติดผลดีสมํ่าเสมอ ลักษณะผลทรงยาวรีคล้ายรูปไข่ เปลือกบาง ผิวสีแดงปนชมพู เนื้อสีขาวขุ่น รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อยเมล็ดโต เปลือกบางทำ ให้ชอกชํ้าง่าย และขั้วผลมักหลุดร่วงง่าย
พันธุ์ฮงฮวย แบ่งออกได้หลายสายพันธุ์ เช่น ฮงฮวยไหล่กว้าง ฮงฮวยฝาง
ฤดูกาลเก็บเกี่ยว เดือนพฤษภาคม – มิถุนายน
พันธุ์โอวเฮียะลักษณะประจำพันธุ์ต้นมีทรงพุ่มเล็ก ง่ามกิ่งเป็นมุมแคบ ใบเล็กยาวสีเขียวเข้ม  ยอดอ่อนสีแดง ใบมี 2-3 คู่ โคนใบและปลายใบเรียวแหลมเป็นพันธุ์หนักออกดอกติดผลไม่ค่อยสมํ่าเสมอช่อผลมีขนาดเล็กผลทรงคล้ายรูปหัวใจป้อมมีไหล่สูงทั้งสองด้าน ผิวผลมีสีแดงเลือดนกค่อนข้างคลํ้า หนามที่ผิวเรียบห่าง เปลือกหนาเนื้อหนามีสีขาวขุ่น เนื้อนุ่มฉํ่านํ้า มีกลิ่นหอม เมล็ดเล็กลีบผลแก่ช้ากว่าพันธุ์ฮงฮวยประมาณ 2 สัปดาห์
พันธุ์นี้ชอบอากาศเย็นกว่าพันธุ์ฮงฮวย
ฤดูกาลเก็บเกี่ยว เดือนพฤษภาคม – มิถุนายน
พันธุ์กิมเจ็งลักษณะประจำพันธุ์ต้นที่ทรงพุ่มเล็ก โตช้า ใบเล็กรูปไข่มีขนาดสั้นและแคบใบมี 1-3 คู่ ยอดแดง ยอดอ่อนสีม่วงแดง ผลทรงกลม เปลือกมีหนามใหญ่ห่าง ผิวสีแดงอมชมพู ร่องหนามมีสีอ่อน เนื้อหนาสีขาวขุ่นรสหวาน
พันธุ์นี้แบ่งได้เป็น กิมเจ็งหนามแหลม และกิมเจ็งหนามราบการออกดอกติดผลค่อนข้างยาก  และต้องการอากาศเย็นจัด
ฤดูกาลเก็บเกี่ยว เดือนพฤษภาคม –มิถุนายน
พันธุ์จักรพรรดิ์ลักษณะประจำพันธุ์ต้นมีทรงพุ่มใหญ่ ใบมีขนาดใหญ่ โคนใบกว้างค่อยๆ เรียวไปด้านปลายใบ มีสีเขียวเข้มเป็นมัน ผลทรงหัวใจกลม ขนาดใหญ่เปลือกหนามีสีแดงเข้ม ผิวหยาบหนามเรียบ มีขนาดใหญ่ห่าง เนื้อหนา มีสีขาวขุ่น ฉํ่านํ้า รสหวานเมล็ดมีขนาดโต สีนํ้าตาลเข้มพันธุ์นี้ต้องการอากาศเย็นจัด
ฤดูกาลเก็บเกี่ยว เดือนพฤษภาคม – มิถุนายน
พันธุ์ค่อมลักษณะประจำพันธุ์ลำ ต้นและกิ่งเรียบ ลำ ต้นสีนํ้าตาลอ่อน กิ่งแข็งแรง ทรงพุ่มค่อนข้างกลมใบแคบเรียว กลางใบพอง ปลายใบเรียวแหลม ใบมี 2-4 คู่ สีใบด้านบนเขียวเป็นมัน ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ผลมีขนาดใหญ่กลมสีแดงเข้ม เปลือกกรอบบาง หนามห่างสั้นแหลม เนื้อหนา หวาน มีกลิ่นพิเศษเนื้อแห้ง สีขาวขุ่น  พันธุ์นี้ออกดอกติดผลง่าย ไม่ต้องการอากาศเย็นจัด
ฤดูกาลเก็บเกี่ยว เดือนเมษายน
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์ลิ้นจี่ ทำ ได้หลายวิธี ได้แก่ การตอน การทาบกิ่ง การเสียบยอด แต่วิธีที่นิยมขยายพันธุ์ลิ้นจี่ คือ การตอน
การตอนกิ่งการตอนกิ่งส่วนใหญ่จะทำ ให้ฤดูฝน เพราะเป็นระยะที่ต้นไม้กำ ลังเจริญเติบโต ฝนตกบ่อยไม่ต้องเสียเวลาในการรดนํ้าให้กับกิ่งตอน ขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
1. เลือกกิ่งลิ้นจี่ที่จะขยายพันธุ์ ควรเป็นกิ่งที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป กล่าวคือใบเปลี่ยนจากใบอ่อนเป็นใบแก่แล้ว กิ่งสีนํ้าตาลลอมเขียวและผิวเปลือกเรียบไม่ขรุขระ
2. ควั่นกิ่ง ขนาด 1 –1.5 นิ้ว แล้วลอกเปลือกออก
3. ขุดเยื่อเจริญออก โดยใช้สันมีดลากจากบนลงลา่ ง ระวังอย่าให้กระทบกระเทือนรอยแผลด้านบนซึ่งจะเป็นบริเวณที่รากจะออก
4. นำ ตุ้มตอนที่ได้จากการนำ ขุยมะพร้าวที่ตีเอาเส้นใยออกแล้วไปแช่นํ้าบีบให้หมาดๆ แล้วอัดลงในถุงพลาสติกขนาดเล็กประมาณ 4X6 นิ้ว ผูกปากถุงให้แน่น ผ่าตุ้มตอนตามยาวแล้วหุ้มไปบนรอยแผลมัดด้วยเชือกทั้งบนและล่างรอยแผล
5. เมื่อเกิดรากพอเหมาะ ประมาณ 30-45 วัน จึงตัดออกจากต้นและนำ มาชำ ในถุงพลาสติกหรือกระถางประมาณ 1 เดือน จึงนำ ลงปลูกในแปลง
การปลูกลิ้นจี่
การเตรียมพื้นที่
พื้นที่ลุ่ม  พื้นที่ซึ่งเป็นที่ลุ่มจำ เป็นต้องยกร่อง ควรยกแปลงให้มีความกว้างของแปลงอย่างน้อย 6 เมตรร่องลึก 1 เมตร กว้าง 2 เมตร เพื่อระบายนํ้าให้ฤดูฝนและกักนํ้าให้ฤดูแล้ง
พื้นที่ดอน
            - พื้นที่ดอน ควรจะปรับพื้นที่ให้เรียบเพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงาน
            - ถ้าพื้นที่มีความลาดชันมาก ควรจัดทำ แนวชั้นบันได หรือปรับระดับบริเวณหลุมปลูก

ระยะปลูก             ลิ้นจี่ใช้ระยะปลูกระหว่าง 8X8 เมตร ถึง 10X10 เมตร ในพื้นที่ยกร่องขนาดของร่องจะบังคับระยะไว้ 8 เมตร ส่วนในพื้นที่ดอนระยะปลูกขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ดินเลวปลูกถี่
ดินดีปลูกห่าง

การเตรียมหลุมปลูก ในพื้นที่ลุ่มควรชุดหลุมในแนวตรงบนแปลงขนาด กว้าง ยาว ลกึ ประมาณ 50-80 เซนติเมตร ผสมดินปลูกด้วยปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา ส่วน 3:1 โดยปริมาตร คลุกให้เข้ากันแล้วกลบลงหลุมโดยให้ดิน บริเวณปากหลุมสูงกว่าดินเดิมประมาณ 15 เซนติเมตร ส่วนพื้นที่ดอนขุดหลุมในแนวตรง กว้าง ยาว  และลึกประมาณ 50-80 เซนติเมตร และเตรียมหลุมเช่นเดียวกันกับการเตรียมหลุมในที่ลุ่ม
การเตรียมกิ่งพันธุ์ ควรจะเตรียมกิ่งตอนไว้ล่วงหน้าให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรงตั้งตัวได้แล้ว โดยเลี้ยงไว้ในเรือนเพาะชำ ก่อนนำ ลงปลูก

ไม้หลักพยุง ใช้ไม้ไผ่รวกหรือไม้ที่แข็งแรงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 1.5 เซนติเมตร  และยาวไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร 
ร่มเงา ใช้เพิงหรือกิ่งไม้ที่ใบไม่ร่วง เช่น ทางมะพร้าวบังแดดด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก
วิธีการปลูก        นำ กิ่งพันธุ์ที่เตรียมไว้ลงปลูกกลางหลุม หากภาชนะที่ใช้เพาะสลายตัวยาก เช่น ถุงพลาสติก หรือกระถาง ต้องนำ กิ่งพันธุ์ออกจากภาชนะก่อนปลูก การปลูกควรให้ระดับดินบนภาชนะเพาะชำอยู่เท่ากับระดับดินในแปลง กลบดินโดยรอบ กดให้แน่น หลังจากนั้นให้ไม้หลักที่เตรียมไว้ปักใกล้ๆ กับกิ่งพันธุ์และผูกเชือกพยุงตัวไว้เพื่อให้ต้นตั้งตรงบังด้วยร่มเงา รดนํ้า
การปฏิบัติดูแลรักษาหลังปลูก
การให้นํ้า  ช่วงเวลาหลังจากปลูกจะตรงกับฤดูฝน ถ้าฝนตกหนักควรทำ ทางระบายนํ้า และตรวจดูบริเวณหลุมปลูก ถ้าดินยุบตัวเป็นแอ่งมีนํ้าขังต้องพูนดินเพิ่ม แต่ถ้าหากฝนทิ้งช่วงควรรดนํ้าให้ดินมีความชื้นอยู่เสมอ
การปลูกพืชเสริมรายได้  ในระหว่างที่ลิ้นจี่ยังเล็ก ควรปลูกพืชแซมเพื่อเสริมรายได้ เช่น พืชไร่ พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ  โดยเลือกปลูกให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และตรงกับความต้องการของตลาด
การปลูกซ่อม  เมื่อตรวจพบว่าต้นลิ้นจี่ตายหลังจากปลูกให้รีบปลูกซ่อม
การป้องกันกำ จัดโรคและแมลง  ในช่วงที่แตกใบอ่อน ควรตรวจสอบ และฉีดสารเคมีป้องกันกำ จัดโรคและแมลงที่ทำ ลายใบอ่อน
การควบคุมวัชพืช  ควบคุมวัชพืชโดยใช้วิธีขุด ถาก ถอน หรือ ตัด พยายามหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำ จัดวัชพืช  เพราะต้นลิ้นจี่ยังเล็กอยู่ ละอองสารเคมีอาจจะไปทำ ลายต้นลิ้นจี่ได้ นอกจากนั้นแล้วการปลูกพืชแซม  ในพื้นที่ว่างในขณะที่ต้นลิ้นจี่ยังเล็ก จะเป็นวิธีที่ช่วยลดปัญหาวัชพืชได้

การตัดแต่งกิ่ง 
          ควรเลี้ยงให้มีลำ ต้นกลางเพียงต้นเดียวและไว้กิ่งแรกสูงจากพื้นดินประมาณ 40-80 เซนติเมตร  และตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งเป็นโรค กิ่งนํ้าค้าง กิ่งแขนงเล็กๆ ด้านในทรงพุ่ม กิ่งไขว้ ตลอดจนกิ่งที่ทำ มุมแคบออกและควรทารอยแผลที่ตัดด้วยปูนแดงกินกับหมาก
การปลูกไม้บังลม          ในแหล่งที่มีลมแรงควรเตรียมการปลูกไม้บังลมไว้ก่อนโดยพิจารณาถึง
          1. ทิศทางลม
          2. ชนิดไม้บังลมท่จี ะปลูกควรโตเร็ว กงิ่ กา้ นนอ้ ย ทรงสงู ทนทานต่อสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะต้านทานลมได้ดี เช่น ไม้ไผ่รวก
          3. ปลูกให้ห่างจากแถวลิ้นจี่ อย่างน้อย 6 เมตร
          4. การปลูกไม้บังลม ปลูก 2 แถวสลับฟันปลา และควรปลูกไม้บังลมก่อนปลูกลิ้นจี่ 1 ปี เป็นอย่างน้อย ไม้บังลมจะมีกี่แนวขึ้นอยู่กับระยะความยาวของสวนกับความสูงของไม้บังลมก่อนลิ้นจี่ 1 ปี เป็นอย่างน้อย ไม้บังลมจะมีกี่แนวขึ้นอยู่กับระยะความยาวของสวนกับความสูงของไม้บังลมโดยอาศัยปลูกทุกแนวที่ 10 เท่า ของความสูงไม้บังลมเมื่อโตเต็มที่

การปฏิบัติดูแลรักษา
การให้นํ้า           ! ลิ้นจี่อายุ 1-3 ปี ในฤดูแล้งให้นํ้าสมํ่าเสมออย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง
           ! ลิ้นจี่ต้นที่ให้ผลผลิตแล้วในฤดูแล้งต้องให้นํ้าสมํ่าเสมออย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง แต่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ก่อนออกดอกควรงดการให้นํ้า หากมีฝนตกต้องทำ ทางระบายนํ้าออกจากแปลงทำ บริเวณโคนต้นให้โปร่งเพราะต้องการความชื้นน้อยในระยะก่อนการออกดอก หลังจากสังเกตเห็นเริ่มแทงช่อดอกประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ของทรงต้น ควรเริ่มให้นํ้าปริมาณที่น้อยและให้บริเวณรอบนอก ของรงพุ่มต่อจากนั้นค่อยๆ เพิ่มปริมาณนํ้าและให้นํ้าในทรงพุ่มมากขึ้น โดยให้ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และควรงดให้นํ้าก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต 7-10 วัน
           ! ปริมาณนํ้าที่ให้แต่ละครั้งขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อดินขนาดของทรงพุ่มและวิธีการให้นํ้า

วิธีการให้นํ้า           วิธีการให้นํ้า แบ่งเป็น 4 แบบใหญ่ๆ ดังนี้
           1. การให้นํ้าทางใต้ผิวดิน  เป็นการให้นํ้าโดยยกระดับนํ้าใต้ดินให้สูงขึ้นจนถึงระดับที่รากสามารถดูดไปใช้ได้ เช่น การยกร่องปลูก
           2. การให้นํ้าทางผิวดิน
                  - การปล่อยให้นํ้าขังหรือปล่อยให้ไหลไปตามผิวดิน การให้นํ้าแบบนี้จะต้องปรับพื้นที่ให้เรียบและมีความลาดเทเล็กน้อย (ประมาณ 2%)
                  - การใช้สายยาง โดยสูบนํ้าจากแหล่งนํ้าและลากสายยางรดตามต้น
           3. การให้นํ้าแบบฉีดฝอย  เป็นการให้นํ้าโดยผ่านทางท่อด้วยแรงดันและให้นํ้าพ่นเป็นฝอยทางหัวฉีดบริเวณทรงพุ่ม วิธีนี้จะประหยัดนํ้ากว่าการให้นํ้าแบบที่ 2 ทำ ได้รวดเร็วสมํ่าเสมอและใช้แรงงานน้อย แต่การลงทุนครั้งแรกค่อนข้างสูง
           4. การให้นํ้าแบบหยด  เป็นการให้นํ้าเฉพาะบริเวณรากโดยให้นํ้าไหลเป็นหยดนํ้าสายนํ้าหรือเม็ดนํ้าเล็กๆ ผ่านหัวปล่อยนํ้า โดยให้มีความชื้นในระดับที่รากสามารถดูดไปใช้ได้ การให้นํ้าวิธีนี้จะประหยัดนํ้ามากเพราะมีการสูญเสียนํ้าน้อยมาก สามารถควบคุมปริมาณนํ้าได้ ใช้แรงงานน้อยและลดปัญหาเรื่องวัชพืชด้วย

การให้ปุ๋ย           1. การให้ปุ๋ยลิ้นจี่ที่ยังไม่ให้ผลผลิต (อายุ 1-3 ปี)
                 - อายุปีแรกให้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 ต้นละประมาณครึ่งกิโลกรัม/ต้น/ปี  แบ่งให้ 2-3 ครั้ง ครั้งแรกช่วงต้นฤดูฝน ครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรก 2-3 เดือน และครั้งที่ 3 ช่วงปลายฤดูฝน
                 - ปีที่ 2-3 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ปีละ 2 ครั้ง อัตรา 10-20 กิโลกรัม ต่อต้นและปุ๋ยเคมีสูตร15-15-15 ปีละ 2 ครั้ง อัตรา 300-400 กรัมต่อต้นต่อครั้ง โดยครั้งแรกให้ในช่วงต้นฝน และครั้งที่ 2 หลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 2-3 เดือน หรือเมื่อลิ้นจี่แตกใบอ่อนแล้ว
           2. การให้ปุ๋ยลิ้นจี่ที่ให้ผลผลิตแล้ว (อายุมากกว่า 4 ปี) แบ่งใส่ 3 ระยะ อัตรา 2-5 กิโลกรัมต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพและอายุของต้นลิ้นจี่
                 ระยะที่ 1 หลังการเก็บเกี่ยวผลแล้วต้องตัดแต่งกิ่งและให้ปุ๋ยในเดือนมิถุนายน เพื่อบำ รุงต้นให้เจริญเติบโตสมบูรณ์ โดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อต้น และปุ๋ยเคมีสูตรเสมอเช่น
15-15-15
                 ระยะที่ 2 การให้ปุ๋ยในระยะนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเตรียมต้นลิ้นจี่ให้พร้อมที่จะออกดอกในฤดูกาล ประมาณเดือนตุลาคมควรให้ปุ๋ย สูตร 8-24-24, 12-24-12
                 ระยะที่ 3 การให้ปุ๋ยในระยะติดผล ให้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 1-3 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพดีโดยแบ่งใส่ 3 ครั้ง คือ
                           - ติดผลโตขนาด 5 มิลลิเมตร
                           - ขนาดผลโตปานกลาง
                           - ขนาดผลโตเต็มที่
            3. วิธีการใส่ปุ๋ยเคมี
                           - ควรแบ่งปุ๋ยที่จะใส่ต่อต้นเป็น 4 ส่วน ใส่บริเวณชายทรงพุ่มประมาณ 3 ส่วน และที่เหลือประมาณ 1 ส่วน หว่านในบริเวณทรงพุ่ม
                           - หลังการใส่ปุ๋ยต้องพรวนดินรวบชายทรงพุ่มและรดนํ้าให้ชุ่ม

           4. การให้ปุ๋ยทางใบ  การให้ปุ๋ยทางใบเป็นการเสริมให้ต้นลิ้นจี่ได้รับปุ๋ยโดยตรงและต้นลิ้นจี่สามารถนำ ไปใช้ได้ทันทีซึ่งควรใช้ในกรณีต่อไปนี้
                      - เมื่อต้นลิ้นจี่แตกใบอ่อนช้าหรือไม่สมํ่าเสมอ ควรใช้ปุ๋ยไทโอยูเรียอัตรา 100-150 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร พ่นให้ทั่วทรงพุ่ม 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน จะช่วยให้การแตกใบอ่อนเร็วขึ้นและพร้อมกัน
                      - ถ้าใบมีความสมบูรณ์ตํ่าคือใบไม่มีสีเขียวเข็มเป็นมัน ควรพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 30-20-10 หรือ 20-20-20 อัตรา 20-30 ซีซี ต่อนํ้า 20 ลิตร จะช่วยเพิ่มความสมบูรณ์แก่ใบให้มากขึ้น
                      - ระยะใบแก่ก่อนออกดอกเพื่อช่วยให้ใบแก่เร็วขึ้น และช่วยป้องกันการแตกใบอ่อนเมื่อมีฝนตกควรพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 อัตรา 100-150 กรัม ต่อนํ้า 20 ลิตร 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน
                      - ช่วงลิ้นจี่ใกล้ออกดอก ควรพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์และกระตุ้นตาดอก เช่น ปุ๋ยสูตร 10-52-17 หรือ 10-45-10 อัตรา 20-30 ซีซี ต่อนํ้า 20 ลิตร และหลังจากแทงช่อดอกแล้วควรฉีดพ่นอีกครั้งเพื่อบำ รุงช่อดอกและช่วยให้ติดผลดีขึ้น
                      - ช่วงลิ้นจี่ติดผลขนาดโตปานกลาง อาจให้ปุ๋ยทางใบเพื่อช่วยเร่งการเจริญ  และเพิ่มคุณภาพของผล โดยใช้ปุ๋ยสูตร 10-20-30 อัตรา 20-30 ซีซี ต่อนํ้า 30 ลิตร

การพรวนดิน
ทำหลังจากใส่ปุ๋ยทุกครั้ง พรวนบริเวณรอบทรงพมุ่ และรดน้ำ ให้ชุ่ม
การตัดแต่งกิ่งเมื่อต้นลิ้นจี่อายุ 1-2 ปี สร้างทรงต้นให้มีลำต้นเดียว  และต้นมีความสูงประมาณ 1 เมตร ตาข้างจะเจริญเป็นกิ่งจำนวนมากเลือกกิ่งให้เหลือกิ่งที่ต้องการ 3-4 กิ่ง โดยเลือกกิ่งที่มีมุมกว้างสูงจากระดับดินประมาณ 50 เซนติเมตร ไว้  ต้นลิ้นจี่ที่ให้ผลผลิตแล้ว การตัดแต่งกิ่งช่วยให้ทรงพุ่มโปร่งดูแลรักษาสะดวก ป้องกันการโค่นล้ม  และช่วยให้ผลดกสมํ่าเสมอทุกปี ซึ่งสามารถแบ่งได้ เป็น 2 ประเภท คือ
          1. การตัดแต่งกิ่งประจำ ปีต้องทำ ทุกปีหลังเก็บผลแล้วโดยให้ตัดกิ่งที่ฉีกหักก่อน ถ้ากิ่งโดคาดว่าไม่ออกดอกอีกแล้วก็ให้ตัดชิดโคนกิ่งเลย ส่วนกิ่งที่ต้องการให้แตกยอดใหม่ให้ตัดเหลือไว้ให้ยาว ต่อไปให้ตัดกิ่งที่ไม่แข็งแรง กิ่งที่อยู่ในทรงพุ่มไม่เจริญออกมานอกทรงพุ่มกิ่งที่เป็นโรค แมลงทำ ลาย กิ่งแห้งและกิ่งกระโดงโดยตัดให้ชิดโคนกิ่งกระโดดโดยตัดให้ชิดโคนกิ่งแล้วทาแผลด้วย สีนํ้ามัน กิ่งแห้งและกิ่งกระโดงโดยตัดให้ชิดโคนกิ่งแล้วทาแผลด้วย สีนํ้ามัน หรือ ปูนขาวหรือยากันเชื้อรา
          2. การตัดสมบูรณ์ ให้ตัดได้เต็มที่ แต่ถ้าต้นโทรมากให้ตัดออกเพียงเล็กน้อย
                 2.1 ถ้าต้นสมบูรณ์ ให้ตัดได้เต็มที่ แต่ถ้าต้นโทรมมากให้ตัดออกเพียงเล็กน้อย
                 2.2 ตัดแต่งด้วยความระมัดระวังอย่าให้กิ่งชํ้า หรือกระทบกระเทือน กิ่งใหญ่ควรใช้มีดตัดก่อนแล้วใช้เลื่อยตามอีกครั้ง

การบังคับให้ลิ้นจี่ออกดอกโดยการควั่นกิ่ง
          การควั่นกิ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้กิ่งมีการเก็บสะสมอาหารมากขึ้นระยะที่เหมาะสมในการควั่นกิ่ง คือ ช่วงที่ลิ้นจี่แตกใบอ่อน ครงั้ ที่ 2 (ชว่งเดือนตุลาคม)
กิ่งที่ควั่น ควรเป็นกิ่งที่มีส่วนกลมมากที่สุดการเลือกขนาดกิ่งจะเลือกตามอายุลิ้นจี่  ดังนี้

         1. อายุ 4-6 ปี เลือกกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 / 2 – 2 นิ้ว
         2. อายุ 7-10 ปี เลือกกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 นิ้ว
         3. อายุ 11-15 ปี เลือกกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-8 นิ้ว

วิธีการควั่นกิ่ง         ใช้เลื่อยโค้งเล็กขนาด 1 มิลลิเมตร เลื่อยให้ทะลุเปลือกตัดเยื่อเจริญโดยรอบแล้วใช้ลวดทองแดงที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 มิลลิเมตรรัดแล้วใช้คีมดึงขันลวดให้แน่นสนิทกับรอยเลื่อย หลังจากนั้น ประมาณ 30-40 วัน สังเกตดูจะเห็นส่วนบนของรอยควั่นจะโตกว่าส่วนล่างเล็กน้อยจึงแก้ลวดมัดออก  ตำแหน่งกิ่งที่ไม่ควรควั่น
         - ตำแหน่งลำต้น
         - ตำแหน่งกิ่งใหญ่

ข้อเสียของการควั่นกิ่งที่ไม่ถูกวิธี         1. ควั่นกิ่งที่โต หรือลำ ต้น ทำ ให้กิ่งหรือต้นตายได้
         2. ควั่นโดยใช้เลื่อยโต ผิดขนาดแผลใหญ่ ทำ ให้แผลหายไม่สนิทหลังติดผลต้นจะโทรม
         3. ใช้ลวดโตเกินไป ทำ ให้เกิดบาดแผลลึก ต้นจะโทรม
         4. ช่วงระยะเวลาบังคับนานเกินไป ทำ ให้แผลมีขนาดใหญ่
         5. ควั่นกิ่งขณะที่แตกใบอ่อน ทำ ให้ใบไม่สมบูรณ์เป็นโรคง่าย

การห่อผล         เมื่อผลลิ้นจี่เริ่มเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นแดงเรื่อๆ หรือเริ่มจะแก่หรือก่อนเก็บเกี่ยว 20-25 วัน ควรห่อผลใช้ถุงกระดาษหรือถุงพลาสติก (ตัดปลายถุง) ห่อทั้งช่อผล ผูกปากถุงกับโคนก้านช่อให้แน่น ให้ผลทั้งช่ออยู่ในถุง
วิธีการสังเกตผลแก่         เมื่อผลลิ้นจี่แก่ คือ หลังจากดอกบานประมาณ 4 เดือน หรือสังเกตจากขนาดผลโตเต็มที่ สีของผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีชมพูปนแดง ไหล่ผลกว้างออก ฐานของหนามที่เปลือกจะขยายออก
ปลายหนามแหลม ร่องหนามถ่างออกเห็นได้ชัด เนื้อแห้ง กลิ่นหอม รสหวาน เมล็ดมีสีนํ้าตาลเข้มเป็นมัน




แหล่งที่มา: http://www.pl-civil.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539327619&Ntype=1

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก