วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

การปลูกลองกอง

การปลูกลองกอง

ลักษณะทั่วไปของลองกอง
ลองกองเป็นไม้ผลในสกุลเดียวกันกับลางสาดและดูกูมีถิ่นกำเนิดอยู่แถบหมู่เกาะมลายู อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และตอนใต้ของประเทศไทย ปัจจุบันมีการขยายพื้นที่ปลูกกันมากในเขตภาคใต้ และภาคตะวันออกเพราะคิดว่าให้ผลตอบแทนสูง แต่ในความจริงแล้วการทำสวนลองกองจะให้ผลตอบแทนที่ดี ก็ต่อเมื่อเกษตรกรสามารถจัดสวนลองกองได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ จะต้องสามารถผลิตลองกองได้ในปริมาณและคุณภาพที่ดี โดยใช้ต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม และจะต้องวางแผนการตลาดให้กับผลผลิต เพื่อให้จำหน่ายได้ราคาดี
           ลองกองเป็นไม้ผลเมืองร้อนที่เจริญเติบโต และให้ผลผลิตได้ดีในสภาพภูมิอากาศร้อนขึ้น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง ๒๕ - ๓๐ องศาเซลเซียส ความชื้นในอากาศค่อนข้างสูง ๗๐ - ๘๐ % มีปริมาณน้ำฝน ๒,๐๐๐ - ๓,๐๐๐ มิลลิเมตรต่อปี จำนวนวันที่ฝนตกประมาณ ๑๕๐ - ๒๐๐ วันต่อปี ดินที่ดีควรเป็นดินร่วนปนทรายที่มีอินทรียวัตถุค่อนข้างสูง และจำเป็นต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอที่จะให้น้ำกับต้นลองกองได้ตามเวลาและปริมาณที่ต้องการ ลองกองเป็นพืชที่ชอบร่มเงาแต่ไม่ชอบลมแรง เพราะถ้าแสงแดดจัดจะทำให้ใบไหม้ ส่วนลมแรงจะพัดเอาความชื้นออกจากสวนจึงควรสร้างร่มเงาและปลูกไม้บังลมรอบๆสวน
           ลองกอง ดูกูและลางสาดเป็นไม้ผลในสกุลเดียวกัน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๓ กลุ่ม คือ
           ๑. กลุ่มลองกอง เป็นกลุ่มที่ผลผลิตมีคุณภาพดีที่สุด มีเมล็ดน้อยหรืออาจจะไม่มีเมล็ดเลยใบมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก คือมีสีเขียวเข้ม และมีร่องใบลึก ทำให้ดูเหมือนกับว่าใบหยักเป็นคลื่น ซึ่งกลุ่มนี้แบ่งออกได้เป็น ๓ ชนิด คือ
           ลองกองแห้ง ผลสุกจะมีเนื้อใสเป็นแก้ว เนื้อแห้ง หวานและมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน ส่วนเปลือกหนามีสีเหลืองคล้ำและไม่มียาง
           ลองกองน้ำ ผลสุกจะมีเนื้อค่อนข้างฉ่ำน้ำ สีเปลือกเหลืองสว่างกว่า
           ลองกองปาลาแมหรือลองกองแปร์แมร์ ผลสุกจะมีเนื้อนิ่ม กลิ่นไม่หอมเหมือนลองกองน้ำ เปลือกบางและมียางบ้าง
           ๒. กลุ่มดูกูหรือลูกู ลักษณะใบค่อนข้างหนาและมีสีเขียวเข้มคล้ายลองกอง แต่หยักเป็นคลื่นน้อยกว่า ขนาดผลค่อนข้างใหญ่และมีเปลือกหนากว่าลองกอง มีเมล็ดมาก และมีเนื้อฉ่ำน้ำ ที่พบมี ๒ ชนิด คือ
           ดูกูแปร์แมร์มีผลค่อนข้างรีก้นผลแหลม ผิวย่นเล็กน้อย
           ดูกูน้ำ มีผลค่อนข้างกลมมีผิวสดใสกว่าดูกูแปร์แมร์
           ๓. ลางสาด ใบบางกว่าลองกอง คลื่นใบไม่เด่นชัด ผลเล็กกว่าลองกอง ผลสุกมีสีเหลืองนวล เปลือกบางมียางเหนียว มีเมล็ด ๒ - ๓ เมล็ดต่อผล
ลักษณะพันธุ์
           ลองกองเป็นผลผลิตมีคุณภาพดีที่สุด มีเมล็ดน้อยหรืออาจจะไม่มีเมล็ดเลยใบมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก คือมีสีเขียวเข้ม และมีร่องใบลึก ทำให้ดูเหมือนกับว่าใบ หยักเป็นคลื่น ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ ลองกองแห้ง ผลสุกจะมีเนื้อใสเป็นแก้ว เนื้อแห้ง หวานและมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน ส่วนเปลือกหนามีสีเหลืองคล้ำและไม่มียาง ลองกองน้ำ ผลสุกจะมีเนื้อค่อนข้างฉ่ำน้ำ สีเปลือกเหลืองสว่างกว่า ลองกองปาลาแมหรือลองกองแปร์แมร์ ผลสุกจะมีเนื้อนิ่ม กลิ่นไม่หอมเหมือนลองกองน้ำ เปลือกบางและมียางบ้าง
            คุณค่าทางโภชนาการ           
           ลองกอง เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินบี และฟอสฟอรัส มีสรรพคุณในการลดความร้อน ที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย เมื่อรับประทานเป็นประจำจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นไข้ ตัวร้อน ลดอาการร้อนในช่องปาก ลองกองมีสรรพคุณในการลดความร้อนที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของมนุษย์ นอกจากนี้การรับประทานลองกองเป็นประจำก็ยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการร้อนในขึ้นภายในปากได้อีกด้วย
           สภาพดินฟ้าอากาศที่เมาะสม
          ผลไม้นั้นจะเจริญเติบโตและแพร่กระจายพันธุ์ได้ต้องอยู่ภายใต้สภาพดินฟ้าอากาศที่เอื้ออำนวยด้วยการปลูกผลไม้ชนิดที่สอดคล้องกับธรรมชาตินับเป็นวิธีที่ง่าย ไม่ต้องลงทุนสูง กฎเกณฑ์ธรรมชาติจึงเป็นกฎเกณฑ์แห่งการมีชีวิติของต้นไม้แต่ละชนิดด้วย แม้ว่าผลไม้หลายชนิดจะปรับตัวให้เข้ากับสภาพดินฟ้าอากาศที่ต่างไปจากแหล่งเดิมได้ก็จริงอยู่ แต่อย่างน้อยต้องใช้ระยะเวลาและผ่านขั้นตอนการกลั่นกรองจากธรรมชาติเสมอ       
            สภาพดิน         ลองกอง เป็นผลไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่าในสภาพดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี สภาพดินในป่านั้นอุดมสมบูรณ์ไปด้วยอินทรียวัตถุ ลองกองเจริญเติบโตในสภาพอย่างนี้มาตั้งแต่เดิม จึงสรุปว่ารากของลองกองที่ดูดอาหารแร่ธาตุต่างๆ มักเป็นรากที่อยู่ในผิวดิน ย่อมเป็นธรรมดาอยู่ดีที่ลองกองจำเป็นต้องมีร่มเงาไว้พลางแสงแดดที่ร้อนเกินไปไม่ให้ส่องถึงดินมากเกินไป
           อุณหภูมิ           อุณหภูมิของทุกภาคมีความแตกต่างกันไม่มากนัก แต่ลองกองเป็นผลไม้เมืองร้อน จึงเจริญเติบโตติดดอกออกผลในอุณหภูมิ20-30องศาเซลเซียส และที่อุณหภูมิอยู่ระดับนี้ก็เห็นจะเป็นร่มเงาของต้นไม้เท่านั้น ด้วยเหตุผลนี้การปลูกลองกอง จึงต้องอาศัยร่มเงาจากไม้อื่นเสมอ
ความชื้น
ผลไม้กลุ่มนี้ต้องอาศัยความชื้นเฉลี่ย70-80เปอร์เซ็นต์ ความชื้นจะมากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนที่ตกจากฟ้า ผลเฉลี่ยของน้ำฝน/ปีมีปริมาณอย่างน้อย2,000-3,000มิลลิเมตร มีฝนตกอย่างน้อย150 วัน
             ลม            เมื่อปลูกลองกอง ภายใต้ร่มเงาแล้ว กระแสลมไม่น่าจะเป็นปัญหามากนัก แต่ลมยังคงเป็นลมอยู่วันยังค่ำ เมื่อลมพัดเอาความชื้นจากที่อื่นมาก็จะพัดเอาความชื้นจากที่นั้นไปด้วย
การปลูก
           การวางแผนปลูกต้นไม้ชนิดนี้จำเป็นต้องเตรียมร่มเงาไว้ก่อนสัก2ปี ร่มเงาที่เหมาะสมคือ กล้วย ระยะแรกทำการปลกกล้วยลงไปก่อน ในระยะกลางของระหว่างต้นต้องหมั่นคอยควบคุมไม่ให้กล้วยแตกกอออกมามาก ควรปลูกไว้กอละ2ต้น จะใช้เป็นร่มเงาถาวรเมื่อลองกองมีอายุ4ปีขึ้นไป
              ระยะการปลูก              ระยะการปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถวคือ 6x6 เมตร 1ไร่จะปลูกได้ประมาณ38ต้น ระยะการปลูกอาจห่างออกไปได้7x7 เมตร ตามความเหมาะสม การเตรียมหลุมปลูกมีขนาดกว้างxยาวxลึกประมาณ0.5-1เมตรทิ้งไว้7วัน ทำการเตรียมหลุมด้วยเศษหญ้าผสมดินชั้นล่างสุดที่ขุดมาด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักให้เข้ากันดี
              การให้น้ำ
                  ลองกองเป็นผลไม้ที่เจริญเติบโตในความชื้นมาก การให้น้ำจึงมีความสำคัญต้องรดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอในช่วงแรกหากฝนไม่ตกควรให้น้ำทุกวันจนกระทั่งอายุ2-3ปี อาจเหลือเป็น2ครั้งต่ออาทิตย์ ลองกองที่ให้ผลแล้วมีความต้องการน้ำมาก ลองกองที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ให้น้ำสม่ำเสมอจะออกดอกปลายเดือนมกราคม
              การให้ปุ๋ย              ปุ๋ยมีบทบาทแก่การเจริญเติบโตและออกดอกติดผล การปลูกลองกองเป็นพืชเดี่ยวจำเป็นในการให้ปุ๋ยมากเป็นพิเศษ ต้นละประมาณ1-2ปีบ การให้ปุ๋ยคอกจะทำปีละ3ครั้ง ส่วนการให้ปุ๋ยเคมีจะทำปีละ2ครั้ง
การขยายพันธุ์
               1. การเพาะเมล็ด
            ควรเตรียมแปลงเพาะก่อน ใช้ดินร่วนผสมปุ๋ยคอกในอัตราส่วน2:1:1คลุกให้เข้ากันและนำเมล็ดมาล้างให้สะอาดให้ส่วนของเนื้อออกให้หมด แช่น้ำยาป้องกันเชื้อราประมาณ25นาที ผึ่งลมให้แห้งหมาดๆนำเรียงในกระบะเพาะ ให้ห่างกันประมาณ1-1.5ซม. กลบด้วยทรายพอมิดรดด้วยบัวรดน้ำเมื่อต้นกล้าโตมีใบประมาณ2ใบจึงย้ายไปปลูกในถุงพลาสติก แล้วจึงนำไปไว้ในเรือนเพาะชำให้แต่ละแถวห่างกันประมาณ10-20ซม. เพื่อสะดวกในการดูแลรักษา รดน้ำให้ชุ่มทุกวัน ควรให้ปุ๋ยทางใบหรือปุ๋ยน้ำบ้าง เพื่อเร่งการเจริญเติบโต เมื่อต้นกล้าอายุประมาณ1-1.5ปี จึงนำไปปลูกในแปลง 
               2. การเลือกใช้ต้นตอ               ต้นตอควรแข็งแรง เจริญเติบโตดี ต้นตอที่ใช้การขยายพันธุ์ลองกองควรใช้ลูกูหรือลางสาด เพราะเป็นไม้ในตระกูลเดียวกัน 
               การเตรียมต้นตอ
               ทำเช่นเดียวกับการเพาะเมล็ดลองกอง เมื่อต้นตอมีอายุ 8-12 เดือน ควรเพาะในถุงพลาสติกที่ผสมดินแล้ว ส่วนต้นตอที่ใช้ทาบกิ่งควรย้ายจากแปลงเพาะเมล็ดในถุงพลาสติกที่บรรจุในขุยมะพร้าว หลังจากนั้นริดรากฝอยออกบ้าง ตัดปลายรากแก้วออกเล็กน้อยจึงนำไปปลูกในถุงพลาสติก 
                การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี
                ควรเลือกต้นไม้ที่ให้ผลผลิตแล้ว3-4 ปีออกดอกและผลเร็ว ผลดกสม่ำเสมอ รสชาติดี ทนทานต่อโรคและแมลง กิ่งพันธุ์ดีควรเลือกส่วนปลายยอดของกิ่งที่ตายอดอยู่ในระยะฟักตัว มีข้อ 1-2ข้อ ยาวประมาณ10-15ซม. มีใบติดอยู่1-2ใบ มีตา 3-5ตา  
การออกดอก และการเก็บเกี่ยว
             ลองกองจะมีการออกดอกและการติดผลบริเวณลำต้นและกิ่งขนาดใหญ่ มักจะเกิดกับจุดใกล้เคียงกันเป็นกระจุก จะเกิดเป็นช่อได้ประมาณ4-10 ช่อแต่เมื่อเจริญไปเป็นดอกและติดผลแล้ว จะเหลือช่อโดยเฉลี่ยลดน้อยลง การออกดอกจะทยอยกันออกเป็นรุ่นๆ ลองกองใช้เวลาในการออกดอกที่ยาวนานประมาณ 1-2เดือนจึงจะหมดทั้งต้น และการเจริญเติบโตของผลหลังจากดอกบานถึงระยะเก็บผลจะใช้เวลาประมาณ100-110 วัน
              การออกดอกของลองกองในแต่ละแหล่งปลูกจะไม่พร้อมกันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง การออกดอกตามฤดูปกติอยู่ในช่วงประมาณเดือนมีนาคม เก็บผลแก่ได้ในเดือนกันยายน ระยะหลังจากการเก็บเกี่ยวลองกองไปแล้วตามฤดูกาลปกติ คือประมาณเดือนกันยายนก็จะเริ่มบำรุงต้นให้ปุ๋ยทันที
แต่ไม่มีการให้น้ำ ฝนจะไม่ตกและจะทิ้งช่วงไปถึงประมาณต้นเดือนตุลาคม พอปลายเดือนตุลาคมต้นลองกองที่ได้ทำการใส่ปุ๋ยไว้ก็จะเริ่มออกดอก ในช่วงนี้ก็จะเริ่มให้น้ำตามปกติและฝนมักจะตกชุกขึ้น ส่วนดอกที่ออกในช่วงนี้จะไปแก่เก็บผลได้ในเดือนเมษายนส่วนต้นที่บังคับให้มีการออกดอก
ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ก็จะทำการถากหญ้าและใส่ปุ๋ยก่อนเดือนกุมภาพันธ์เพื่อให้ต้น
มีความสมบูรณ์พร้อมจะให้ออกดอกต่อไป
                การเก็บเกี่ยว
                เริ่มจากการที่ ช่อดอกลองกองจะทยอยแทงออกมา เมื่อมีการออกช่อดอกติดผลจึงทำให้อายุของผลไม่เท่ากันทำให้การเก็บเกี่ยวผลมีหลายรุ่น และที่สำคัญจำนวนดอกในแต่ละช่อบานไม่พร้อมกัน จึงทำให้ผลในแต่ละช่อสุกไม่พร้อมกันความหวานจึงไม่สม่ำเสมอ การตัดช่อลองกองแล้วจะปลิดผลสีเขียวทิ้ง คงไว้เฉพาะผลที่เปลือกเป็นสีเหลือง จึงทำให้ผลในช่อไม่แน่นขาดความสวยงามและได้ราคาต่ำ
              ในการเร่งการเปลี่ยนสีเปลือกผลลองกองควรใช้สาร Ethephon ที่มีความเข้มข้น200มิลลิกรัม/ลิตร พ่นช่อผลในระยะที่มีการเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองประมาณ10-20 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้ผลทุกผลภายในเกิดการเปลี่ยนช่อเป็นสีเหลืองพร้อมกัน100เปอร์เซ็นต์ ภายในเวลา14วันแต่ถ้าหากไม่พ่นด้วยสารดังกล่าว การเปลี่ยนสีของผิวเปลือกผลจะมีเพียง25เปอร์เซ็นต์สารดังกล่าวจะไม่มีผลต่อการร่วงของผลแต่อย่างใด 
               1.ระยะการสุก แบ่งเป็น 3 ระยะ                  ระยะที่1เปลือกผลมีสีเหลืองแกมเขียวเนื้อในขาวขุ่น ระยะนี้ไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้
              ระยะที่2เปลือกผลมีสีเหลืองคล้ำเนื้อในผลบริเวณขั้วของกลีบยังลงมีสีขาวขุ่นตรงกลางกลีบเหมือนแก้วระยะนี้เก็บเกี่ยวได้ระยะที่3เปลือกผลสีเหลืองคล้ำเนื้อในผลใสเหมือนแก้วทุกกลีบ เก็บเกี่ยวในระยะนี้ถ้าให้ดีบ่มไว้1คืนผลจะหวานหอมเพราะเป็นระยะที่สุกเต็มที่
               2.วิธีเก็บเกี่ยว                การเก็บเกี่ยวลองกอง จะใช้ไม้หรือบันไดทำการพาดขึ้นไปและใช้มีดเล็กๆคมๆตัดที่โคนก้านช่ออย่าให้กระทบกระเทือนเพราะผลจะร่วง เมื่อตัดมาแล้วควรแยกขนาดของช่อ แล้วจึงนำออกจำหน่าย
               3. การเก็บรักษาผลลองกอง                การเก็บผลไม้จำพวกลองกองไว้ภายในห้องเย็นที่มีการควบคุมอุณหภูมิได้ จะพบว่าผลไม้ที่มีขนาดเล็กจะมีความเป็นกรดเท่ากับผลขนาดใหญ่ เมื่อทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่มีอายุเท่าๆกันอัตราการหายใจของผลไม้ที่มีขนาดเล็กจะมีอัตราสูงกว่าพวกที่มีขนาดใหญ่ทั้งในผลสุกและยังไม่สุก การเก็บรักษาให้ผลอยู่ในสภาพสมบูรณ์ทำได้โดยการเก็บที่อุณหภูมิ15องศาเซลเซียส
โรค และศัตรูพืช
                ศัตรูพืชที่มีบทบาทสำคัญและทำความเสียหายให้กับลองกองได้แก่            
                หนอนเจาะลำต้น
                มันจะทำการเจาะเข้าไปในกิ่งหรือลำต้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและกัดกิน ตอนกลางคืนมักจะออกมาจากรูมาแทะกินเปลือก กิ่ง ลำต้น ส่วนตอนกลางวันมักจะหลบซ่อนอยู่ในรูในกิ่งที่ถูกทำลายมากๆอาจทำให้แห้งและตายไปในที่สุด จะป้องกันโดยการใช้ยาชนิดระเหย ผสมฉีดเข้าไปในรูที่หนอนอาศัยอยู่แล้วอุดด้วยดินเหนียว 
               หนอนชอนใบ               การทำลายของตัวหนอนจะไชชอนกัดกินอยู่ใต้ใบ จะทำลายเฉพาะหน้าใบเท่านั้น ระยะต่อมาบริเวณใบที่ถูกกัดกินก็จะเริ่มแห้งและร่วงหล่นไปในที่สุด การป้องกัน หากพบมีรอยทำลายของหนอน ก็เก็บใบไปทำลายเสียก่อน และใช้สารเคมีฉีดพ่นในช่วงแตกใบอ่อน
               หนอนไชเปลือก
              การทำลายของหนอนไชเปลือก ก็จะเข้ากัดกินอยู่ใต้ผิวเปลือก ทำให้เปลือกมีลักษณะเป็นปุ่มๆและเมื่อกินนานเข้าจะทำให้กิ่งแห้งตายทำความเสียหายเป็นอย่างมาก การป้องกันและกำจัด ฉีดด้วยสารเคมี
              โรครากเน่า             เกิดจากเชื้อรา จะเกิดบริเวณโคนต้นและโคนรากในต้นที่เป็นโรคจะพบว่าใบร่วงใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองโคนเน่ารอบโคน แล้วต้นก็จะตาย การป้องกันควรใช้สารเคมีป้องกันการกำจัดเชื้อราในกลุ่มของคอปเปอร์ออกซิคลอไรด์
การตลาด
              การตลาด ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม-ตุลาคมของทุกปีจะเป็นช่วงที่ผลผลิตลองกองออกสู่ตลาดตามฤดูกาล การผลิตและการตลาดของเกษตรกรนั้น ยังขาดความรู้ เกี่ยวกับการปลูก การขยายพันธุ์ การดูแลรักษาซึ่งมีผลกระทบต่อระยะเวลาการให้ผลผลิต นอกจากนี้เกษตรกรไม่มีตลาดรองรับผลผลิตในจังหวัดเพียงพอ ทำให้ต้องจำหน่ายผลผลิตก่อนระยะเวลาที่เหมาะสมก่อนทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุกครั้ง 
              1.โครงสร้างการตลาดและสภาพทั่วไปของตลาดลองกอง ลองกองเป็นผลไม้เพาะฤดูกาล ผลผลิตแต่ละปีมีมากน้อยตามสภาพของอากาศ แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคผลผลิตจากแหล่งต่างๆจะถูกส่งมายังตลาดตันหยงมัสแห่งนี้ ผลผลิตที่รวบรวมจากแหล่งนี้ส่วนใหญ่จะถูกส่งไปยังปากคลองตลาด เพื่อจำหน่ายให้ผู้บริโภคต่อไป
            2.วิถีการตลาดลองกอง ตลาดลองกองของจังหวัดนราธิวาส จากแหล่งผลิตหรือสวนลองกองของเกษตรกรจะผ่านผู้ประกอบการระดับต่างๆจนถึงมือผู้บริโภค ซึ่งพ่อค้าในระดับต่างๆคือ พ่อค้าปลีก พ่อค้าท้องถิ่น ตัวแทน/นายหน้า พ่อค้าขายส่งตลาดตันหยงมัส และพ่อค้าต่างจังหวัด
               3.รูปแบบการซื้อขาย จำแนกได้3ลักษณะ คือ
                     1.การเหมาสวนหรือเหมาต้นก่อนการเก็บเกี่ยว1-1 1/2เดือน
                     2.การเหมาสวนหรือเหมาต้นก่อนการเก็บเกี่ยว10-15 วัน
                     3.การซื้อขายเป็นน้ำหนัก
                     4.การจัดชั้นคุณภาพผลผลิตลองกอง ใช้ความสามารถเฉพาะตัวของผู้ประกอบการค้า โดยใช้ประสบการณ์ในการซื้อขายกันมาเป็นระยะเวลายาวนานเพราะไม่มีมาตรฐานที่แน่นอนเป็นเครื่องวัด ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำกันอยู่เสมอในการตกลงซื้อขายลองกอง ในขณะที่ผู้ขายพยายามต่อรองที่จะ
ให้ผลผลิตได้ราคาสูง แต่ผู้ซื้อก็ต้องการซื้อในราคาต่ำ
                     5. การบรรจุหีบห่อ การที่ภาชนะบรรจุระหว่างผู้ประกอบการท้องถิ่น พ่อค้าขายส่งต่างจังหวัดพ่อค้าขายส่งตลาดตันหยงมัส เข่งที่ใช้เป็นภาชนะบรรจุ หากมีการซื้อขายเป็นจำนวนมาก จะมีการเปลี่ยนภาชนะบรรจุระหว่างกัน หรือระยะทางไม่ไกลมากนัก อาจจะมารับภาชนะบรรจุกลับในวันหลัง แต่ในกรณีของภาชนะบรรจุในการประกอบการค้าขายส่งตลาดตันหยงมัสกับพ่อค้าตลากกรุงเทพฯ ภาชนะที่ใช้บรรจุ คือ ลังไม้และกล่องกระดาษ เป็นต้น
                     6.การเก็บรักษาสินค้า การเก็บรักษาสินค้าเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าเก็บรักษาไม่ดีโอกาสที่ลองกองจะเน่าเสียจะประมาณ5-7วัน ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการค้านั้นจะต้องผ่านหลายขั้นตอนกว่าจะถึงมือผู้บริโภค จึงจำเป็นที่จะต้องดูแลเก็บรักษาให้ดี
                     7.การขนส่ง การขนส่งของผู้ประกอบการค้าพ่อค้าท้องถิ่น พ่อค้าขายส่งต่างจังหวัด และนายหน้านั้น จะใช้รถบรรทุก 4ล้อ ส่วนการติดต่อการค้าระหว่างผู้ประกอบการค้าพ่อค้าขายส่งตลาดตันหยงมัสกับพ่อค้าปากคลองตลาดนั้น พาหนะที่ใช้บรรทุกคือ รถบรรทุกขนาด 6ล้อ และ10ล้อ ส่วนใหญ่จะเป็นหลังเที่ยงคืนไปแล้ว
                      8.ปัญหาการตลาด ราคาลองกองโดยทั่วๆไป แล้วนั้นค่อนข้างจะราคาสูง ดังนั้นตลาดในการจำหน่ายผลผลิตส่วนใหญ่จึงเป็นตลาดที่เป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ เพราะมีอำนาจในการซื้อสูง
เช่นตลาดในกรุงเทพฯ หาดใหญ่ นครศรีธรรมราช ซึ่งจากการที่ตลาดอยู่ห่างไกลจากแหล่งผลิตมากนั้น จึงทำให้ประสบปัญหา
แนวทางการแก้ไขนั้นจะต้องส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ในเรื่องของการตลาด และคุณภาพของสินค้าที่ตลาดต้องการ เพื่อไม่ให้เสียเปรียบพ่อค้าเมื่อมีการต่อรองราคาสินค้า


แหล่งที่มา: http://www.pl-civil.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539327621&Ntype=1

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก