วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

การปลูกปาล์มน้ํามันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


การปลูกปาล์มน้ำมัน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ปาล์มน้ำมัน (Oil Palm)
            ชื่อวิทยาศาสตร์ Elaeis guineensis Jacq. เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาตะวันตก และนำเข้ามาประเทศไทยปี พ.ศ. 2472 เป็นไม้ยืนต้นที่ลงทุนเพียงครั้งเดียวก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นาน 20 ปี และเป็นพืชที่อนุรักษ์สภาพแวดล้อม โดยมีความสูงเฉลี่ย 15-18 เมตร และมีศักยภาพการผลิตน้ำมันต่อหน่วยพื้นที่สูงสุด (เฉลี่ย 512 กก./ไร่) เริ่มเก็บเกี่ยวหลังปลูกลงแปลงประมาณ 30 เดือน  สามารถนำมาสกัดองค์ประกอบจากน้ำมันปาล์ม ได้แก่ กรดไขมันหลายชนิด วิตามินอีและเอ นำมาใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อุตสาหกรรม Olechemical และเป็นพลังงานทดแทน
            ปาล์มน้ำมันมีระบบรากตื้น รากแผ่ขยายตามขนาดทรงพุ่มต้น รากสานกันอย่างหนาแน่นบริเวณผิวดินระดับลึก 30-50 ซม. และเป็นพืชผสมข้าม มีดอกเพศเมียและดอกเพศผู้แยกช่อดอกภายในต้นเดียวกัน
การปลูกและการดูแลรักษา
ขั้นตอนที่ 1. การคัดเลือกพื้นที่
1) ต้องมีแหล่งน้ำ และมีความสามารถให้น้ำกับต้นปาล์มน้ำมันได้ในช่วงฝนทิ้งช่วงและช่วงแล้ง
2) พื้นที่ที่มีสภาพไม่เหมาะสมสำหรับปลูกปาล์มน้ำมัน เช่น ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ดินค่อนข้างเค็ม พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังนาน ฯลฯ ต้องสามารถการจัดการแก้ไขตามสภาพปัญหาของพื้นที่นั้นๆ
3) พื้นที่ที่ไม่ลาดเอียงมาก สภาพพื้นที่น้ำไม่ท่วมขัง หรือหากท่วมขัง สามารถจัดการพื้นที่
พื้นที่ ความอุดมสมบูรณ์สูงถึงปานกลาง ลักษณะดินร่วน ดินร่วนปนดินเหนียว ดินเหนียว
4) ดินมีชั้นหน้าดินลึกมากกว่า 50 ซม. ไม่มีชั้นดินดาน
ขั้นตอนที่ 2. การเตรียมพื้นที่
1) โค่นล้ม และกำจัดซากต้นไม้ วัชพืชออกจากแปลงไถพรวนปรับพื้นที่ให้เรียบ
2) วางแนวปลูก ให้แถวปลูกหลักอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ระยะปลูก 9 x 9 x 9 เมตร สามเหลี่ยมด้านเท่า เพื่อให้ต้นปาล์มทุกต้นได้รับแสงแดดมากที่สุดและสม่ำเสมอและได้จำนวนต้นต่อไร่ เพิ่มขึ้น (เฉลี่ย 22 ต้นต่อไร่) โดยวางแนวให้เต็มพื้นที่ (ไม่ต้องเว้นระยะถนนและร่องระบายน้ำ)
3) วางแนวถนน เพื่อใช้ในการทำงาน การขนย้ายและขนส่งผลผลิตปาล์มน้ำมัน ระยะถนนขึ้นอยู่กับขนาดของสวนปาล์มน้ำมัน  ถนนย่อย 3-4 ม.ทุก 20 ต้น ถนนเข้าแปลง 4-5 ม.ทุก 40 ต้น ถนนใหญ่ 6-8 ม.ทุก 120 ต้น ซึ่งจำเป็นต้องผ่านแนวปลูกในแถวที่ทำถนน
4) วางแนวร่องระบายน้ำ (ทำควบคู่กับถนน) เพื่อการระบายน้ำในสวนปาล์มน้ำมันและระบบการให้น้ำ โดยขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่  ไม่ให้น้ำท่วมขังต้นปาล์มน้ำมัน และให้มีหน้าดินต้นปาล์มน้ำมันรัศมีมากกว่า 2.5 ม.
5) วางแผนการให้น้ำต้นปาล์มน้ำมัน เช่น การวางระบบน้ำแบบมินิสปริงเกอร์ แบบสปริงเกอร์ แบบน้ำหยด หรือ แบบไหลตามร่อง
ขั้นตอนที่ การเตรียมหลุมปลูก
1) ขุดหลุมปลูกให้กว้างกว่าถุงเล็กน้อย แยกดินบน ดินล่างออกจากกัน
2) ใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟต (0-3-0) รองก้นหลุม 250-500 กรัมต่อหลุม
ขั้นตอนที่ วางระบบน้ำ
1) วางระบบน้ำตามแนวพื้นที่ที่วางแผนไว้ พร้อมสำหรับการให้น้ำ
ขั้นตอนที่ เลือกต้นกล้าปาล์มน้ำมัน
1) ต้นกล้าปาล์มน้ำมันพันธุ์ลูกผสมเทเนอร่า (DxP) ชั่วรุ่นที่ ได้จากการผสมพันธุ์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ แปลงเพาะกล้าปาล์มน้ำมันต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองโดยกรมวิชาการเกษตร และมีใบอนุญาตจำหน่ายต้นกล้า หรือจากหน่วยงานของทางราชการที่เพาะต้นกล้าเอง เช่น ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันหนองคาย เป็นต้น
2) ต้นกล้าอายุมากกว่า เดือน ซึ่งมีใบประกอบขนนกจำนวนมากกว่า ทางใบ ต้นสูง 100-150 ซม.จากระดับดินในถุง
3) การซื้อขายต้องมีใบเสร็จรับเงิน และสัญญาซื้อขายเป็นหลักฐาน
4) ขนย้ายต้นกล้าจากแหล่งซื้อขาย ทำด้วยความระมัดระวัง ไม่จับหิ้ว และไม่โยน โดยขนย้ายมีวัสดุกันลม และพรางแสงให้ต้นกล้าปาล์มน้ำมัน
ขั้นตอนที่ การปลูก
1) ปลูกได้ทุกฤดูกาล ถอดถุงพลาสติกออกอย่าให้ดินแตก วางต้นปาล์มน้ำมันลงในหลุมที่เตรียมไว้ ให้ระดับโคนต้นเสมอกับระดับดินเดิม และดูแนวต้นให้ตรงกันทุกต้น
2) กลบดินลงหลุม อัดดินให้แน่น ระดับดินเดิมเสมอโคนต้น ไม่กลบโคน หากกลบโคนต้นปาล์มน้ำมันจะโตช้า
3) ใช้ฟาง หรือวัสดุคลุมโคนอื่นๆ คลุมรอบต้นปาล์มน้ำมัน และให้น้ำ เพราะปาล์มจะได้ตั้งตัวช่วงปลูก เดือน แรก
4) พื้นที่ที่มีหนู ใช้ตาข่ายหรือสังกะสี หุ้มรอบโคนต้นปาล์มน้ำมัน เพื่อป้องกันหนูเข้าทำลาย
ขั้นตอนที่ การจัดการหลังปลูก
1) ให้น้ำทุก วัน หรือ 10 วัน หรือเมื่อหน้าดินเริ่มแห้ง หากขาดน้ำจะส่งผลต่อการออกดอกและให้ผลผลิต
2) เข้าสังเกตและจัดการต้นปาล์มน้ำมันทุกวัน เพื่อเฝ้าระวังโรค แมลง และสัตว์ศัตรู และสภาพน้ำท่วมขังต้น
3) กำจัดวัชพืชในทรงพุ่มและในแปลงปลูก หรืออาจปลูกพืชคลุมดินเพื่อลดปริมาณวัชพืช ซึ่งต้องระมัดระวังการใช้ยาฆ่าหญ้า ไม่ให้โดนใบ เพราะปาล์มน้ำมันอ่อนแอต่อยาฆ่าหญ้า
3) ใส่ปุ๋ยตามอัตราที่กำหนด (ตารางที่ 1) โดยแบ่งใส่ตามความเหมาะสม โดยหว่านภายในบริเวณทรงพุ่ม หรือกองวัสดุคลุมต้น
4) หากพบใบมีลักษณะเป็นรูพรุน (เกิดจากด้วงกุหลาบ) ให้ฉีดพ่นด้วยเซฟวิน 85 % 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ในตอนเย็นช่วงใกล้ค่ำ ทั้งใบและบริเวณโคนต้น
5) ยอดปาล์มน้ำมันเริ่มสีดำ ยอดพับ และเน่า ไม่ถึงโคน (โรคยอดเน่า) ช่วง ปีแรก ให้ถอดยอดออก ราดบริเวณกรวยยอด ด้วย ไธแรม 130 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สลับกับ แมนโคเซป 150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารจัดใบทุก 5-7 วัน
6) ไม่ตัดแต่งทางใบ (สีเขียว) ออกช่วง 1-3 ปี เพราะใบยังสังเคราะห์แสงได้
ขั้นตอนที่ การเก็บเกี่ยว

1) รอบการเก็บเกี่ยวอยู่ในช่วง 10-20 วัน แล้วแต่ฤดูกาลโดยเฉลี่ยประมาณ 15 วันต่อครั้ง

2) ควรเก็บเกี่ยวเมื่อปาล์มน้ำมันสุกพอดี ชนิดผลดิบสีดำเมื่อสุกเปลี่ยนสีผลเป็นสีแดง ให้เก็บเกี่ยวเมื่อมีผลร่วงจากทะลาย 1-3 ผล ชนิดผลดิบสีเขียวเมื่อสุกเปลี่ยนสีผลเป็นสีส้ม ให้เก็บเกี่ยวเมื่อผลเป็นสีส้มมากกว่า 80 % ของผล

3) ควรเก็บเกี่ยวทะลายโดยตัดทางใบออกเท่าที่จำเป็นให้ต้นปาล์มมีทางใบที่รองรับทะลายเหลืออยู่อย่างน้อย 1-2 ทางใบ

4) เก็บเกี่ยวทะลายปาล์มน้ำมันแล้ว ควรส่งโรงงานภายใน 24 ชั่วโมง



แหล่งที่มา: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=250510

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก