วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

การปลูกปอเทือง

การปลูกปอเทือง

ปอเทืองเป็นพืชตระกูลถั่ว  ลักษณะเป็นไม้พุ่มความสูง  100 – 300  เซนติเมตร ลำต้นกลม ใบยาวเรียวแหลม ดอกสีเหลือง  ฝักเป็นรูปทรงกระบอก  เมล็ดคล้ายรูปไตสีน้าตาล ความยาวประมาณ  6  มิลลิเมตร มี 10 -20  เมล็ด / ฝัก

การเตรียมดินและการปลูก มี  2  วิธี

   1. ปลูกโดยไม่ต้องเตรียมดิน 
         1.1 ก่อนการเก็บเกี่ยวข้าว  ใช้เมล็ดพันธุ์ปอเทืองหว่าน 1 – 2 วัน จึงใช้รถเก็บเกี่ยวข้าว  วิธีนี้จะสูญเสียเมล็ดพันธุ์มากจากการกลบของฟางข้าว
         1.2 หลังการเก็บเกี่ยวข้าว ใช้เมล็ดปอเทืองหว่าน ตามร่องรถเกี่ยวข้าว หรือกระจายฟางข้าวให้ทั่วแปลง  หรือจะเก็บฟางข้าวไว้เลี้ยงสัตว์ วิธีนี้จะได้ใช้พื้นที่มากขึ้น

2. ปลูกโดยการเตรียมดิน 
ใช้รถไถขณะดินมีความชื้นอยู่ แล้วหว่านเมล็ดปอเทือง จะคราดกลบหรือไม่ก็ได้  ถ้าคราดกลบจะงอกได้สม่ำเสมอและเจริญเติบโตดี

การดูแลรักษา 
หลังการหว่านเมล็ดพันธุ์ปอเทืองแล้วประมาณ  3 – 5 วัน จะงอกโดยอาศัยความชื้นที่มีอยู่ในดิน  ไม่ต้องให้น้ำ เมื่ออายุ  50 – 60 วัน 
ดอกเริ่มบานจากข้างล่างก่อน หลังดอกร่วงโรยจะติดฝักจากข้างล่างก่อนเช่นเดียวกัน ฝักจะแก่เก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ  120 – 130 วัน ศัตรูที่สำคัญได้แก่หนอนผีเสื้อจะเจาะฝักกินเมล็ดข้างใน

การเก็บเกี่ยวผลผลิต   มี 2 วิธี
1. ใช้รถเกี่ยวข้าวเก็บเกี่ยว แต่ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากไม่คุ้มกับการลงทุนทั้งเจ้าของรถเกี่ยวคือ ลำต้นจะมีความแข็งเกิดความเสียหายต่อเครื่องจักรสำหรับเกษตรกรผลผลิตค่อนข้างต่ำจึงไม่คุ้มต่อการลงทุน
2.ใช้เคียวเกี่ยวผึ่งแดดไว้ 3 – 4 แดด นำมาใส่กระสอบแล้วทุบให้ฝักแตก หรือนำมากองบนผ้าใบ บนตาข่าย บนลานแล้วใช้รถย่ำในบริเวณแปลงนาได้เลย  ผลผลิตเฉลี่ย 80 -  120  กิโลกรัมต่อไร่  ราคาเฉลี่ย  20 – 25  บาทต่อกิโลกรัม  จำหน่ายให้สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดนครราสีมาและเกษตรกร
ทั่วไป


สรุป 
การปลูกปอเทืองเพื่อใช้ปรับปรุงบำรุงดินควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดก่อนการปลูกพืชหลัก แต่การปลูกปอเทือง ช่วงเดือน ตุลาคม ถึงเดือน ธันวาคม เหมาะสำหรับเก็บเมล็ดพันธุ์เพราะจะได้เมล็ดที่มีคุณภาพ หลังจากเก็บเกี่ยวในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ถึงเดือน
มีนาคม  ไถกลบต้นตอ 
จากการยืนยันของเกษตรกร นายสำรวย  โมรานอก  ในการปลูก ปีที่ 1 – 2 การเจริญเติบโตไม่ดีนัก หลังจาก 5 ปี ปอเทืองจะเจริญสมบูรณ์ และข้าวที่ปลูกไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีเลย ดังนั้นนอกจากจะเป็นพืชบำรุงดินแล้วยังมีรายได้เสริม  

แหล่งที่มา: https://www.google.co.th/search?rlz=1C1RNKA_enTH493TH494&sugexp=chrome,mod=10&sourceid=chrome&ie=UTF-8&q=http%3A%2F%2Fkanchanapisek.or.th

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก