วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

การปลูกส้มโอในภาชนะ


การปลูกส้มโอในภาชนะ

เมื่อเอ่ยถึงส้มโอทุกคนที่เคยลิ้มรสกับส้มโอของอำเภอสมพราน จังหวัดนครปฐม ที่มีรสชาติหวานอมเปรี้ยวหวานสนิทใจ เนื้อแห้งไม่แฉะน้ำและแกะง่าย ไม่พบเม็ดข้าวสาร ไม่เปรี้ยว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ขม ก็จะประทับใจและจะหาซื้อมารับประทานอยู่เรื่อย ๆ แต่ถ้าพูดถึงส้มโอให้คนทางภาคเหนือที่เคยแต่รับประทานส้มโอของทางภาคเหนือ จะไม่สนใจและรู้สึกเข็ดขยาดกับการที่จะควักเงินในกระเป๋าเพื่อจะซื้อส้มโอมารับประทาน เพราะที่ผ่านมาเคยกินแต่ส้มโอจิ้มพริกเกลือ ตำส้มโอ (โซ๊ะใส่น้ำปู) รสชาติที่เคยลิ้มรสคือ เปรี้ยวมาก ขม เฝื่อน (ฮืน) แฉะน้ำ แกะยาก รู้สึกไม่ประทับใจในการกินเลย และจะไม่เอาส้มโอเข้าบ้านโดยเด็ดขาด นี้คือความรู้สึกของผู้คนที่ไม่เคยลิ้มรสของส้มโอที่อร่อย คนที่ไม่มีความรู้เรื่องส้มโอ ไม่รู้จักซื้อ จักเลือก และจักกินส้มโอที่ถูกต้อง คุณนคร ผ่องพุทธ บ้านเดิมอยู่ที่ตำบลยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม อดีตกรรมการและสมาชิกกลุ่มเกษตร อำเภออ้อมใหญ่ (รุ่นแรก) คลุกคลีอยู่กับส้มโอตั้งแต่อายุสิบกว่าปี จนปัจจุบันทำสวนเกษตรผสมผสาน อยู่ที่อำเภอบ้านแป้น อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เล่าเรื่องพันธุ์ส้มโอให้เราฟังว่า สายพันธุ์ส้มโอที่ปลูกอยู่ในประเทศ ปัจจุบันมีไม่ค่อยมาก พันธุ์เหมือนไม้ผลชนิดอื่น เนื่องมาจากการกลายพันธุ์ของส้มโอแทบทั้งสิ้น ในอดีตแหล่งปลูกส้มโอแต่ละพันธุ์อยู่เฉพาะท้องถิ่นนั้น ๆ ไม่ค่อยกระจายหรือนิยมนำไปปลูกในท้องถิ่นอื่น ส่วนมากส้มโอจะปลูกกินอย่างแพร่หลายในจังหวัดภาคกลางเสียเป็นส่วนใหญ่ เช่น จังหวัดนครปฐม ราชบุรี ปราจีนบุรี สมุทรสงคราม และชัยนาท เนื่องจากระบบการติดต่อสื่อสารและเทคโนโลยียังไม่ทันสมัย เช่น ปัจจุบัน

การจำแนกพันธุ์ส้มโอ
จำแนกตามสายพันธุ์ออกเป็น 2 กลุ่ม
1. พันธุ์การค้าหลัก ได้แก่ พันธุ์ขาวพวง ขาวแป้น ขาวทองดี ขาวใหญ่ บางขุนนนท์


จำแนกตามลักษณะของผลส้มโอ

1. ผลทรงกลมหรือแป้น ไม่มีจุก ได้แก่ พันธุ์ขาวทองดี ขาวแป้น ขาวใหญ่ ขาวหอม และปัตตาเวีย
2. ผลทรงกลมสูง มีจุก ได้แก่ พันธุ์ขาวพวง ขาวจีบ

จำแนกตามสีของเนื้อส้มโอ

1. สีขาว ได้แก่ พันธุ์ขาวพวง ขาวใหญ่ ขาวจีบ 
2. สีขาวออกเหลือง ได้แก่ พันธุ์ขาวแป้น ขาวหอม ขาวน้ำผึ้ง
3. สีชมพูอ่อน ได้แก่ พันธุ์ขาวทองดี ขาวแตงกวา 
4. สีชมพูแก่ ได้แก่ พันธุ์แดงทับทิม
ส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง
ผลมีลักษณะกลมสูง ขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่ไม่มีจุกให้เห็นเด่นชัดนักเหมือนพันธุ์ขาวพวงและขาวจีบ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 18 เซนติเมตร ความสูงประมาณ 15-20 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1.8-2.5 กิโลกรัม ด้านก้นผลจะเรียบ ต่อมน้ำมันที่ผิวเปลือกจะมีสีเขียวเข้ม เปลือกหนาปานกลาง ผลหนึ่งจะมีประมาณ 12 กลีบ กลีบสามารถแยกออกจากกันได้ง่าย แกะเนื้อออกจากเยื้อหุ้มกลีบได้ง่าย เนื้อสีขาวอมเหลืองคล้ายสีน้ำผึ้ง กุ้งเนื้อขนาดใหญ่ น้ำมากแต่ไม่แฉะ รสชาติหวานอมเปรี้ยว ความหวานประมาณ 10 เปอร์เซนต์บริกซ์ เมล็ดไม่มาก นิยมบริโภคและปลูกทั่วไป ทุก ๆภาคของประเทศ
ส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวา
ผลมีลักษณะกลมสูงเล็กน้อย ขนาดผลโตปานกลาง ไม่มีจุกให้เห็นเด่นชัดนัก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 14-18 เซนติเมตร ความสูงประมาณ 18 เซนติเมตร ด้านก้นผลจะป้านและเว้าเล็กน้อย ต่อมน้ำมันที่ผลเล็กละเอียด ผิวสีเขียว เปลือกหนาปานกลาง ผลหนึ่งจะมีประมาณ 12-13 กลีบ กลีบสามารถแยกออกจากกันได้ง่าย แกะเนื้อออกจากเยื้อหุ้มกลีบได้ง่าย เนื้อสีขาวออกสีชมพูอ่อน รสชาติหวานอมเปรี้ยว ความหวานประมาณ 10 เปอร์เซนต์บริกซ์ เมล็ดน้อย เนื้อไม่แฉะ ปลูกมากที่จังหวัดชัยนาท และจะมีงานเทศกาลส้มโอขาวแตงกวาของดีของจังหวัดจัดขึ้นทุก ๆ ปี ประมาณเดือนสิงหาคม

ส้มโอพันธุ์ขาวพวง
ผลมีลักษณะทรงกลมสูง มีจุกสังเกตเห็นเด่นชัด มีจีบบริเวณจุก ผลขนาดโตปานกลาง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 13 – 15 เซนติเมตร สูง 15 – 18 เซนติเมตร จุกสูง 1.5 - 2 เซนติเมตร ด้านก้นผลเว้าเล็กน้อย ต่อมน้ำมันใหญ่อยู่ห่างกัน ผิวเรียบ สีเขียวอมเหลือง ผลหนึ่งจะมีประมาณ 2 – 14 กลีบ กลีบแยกออกจากกันง่าย เนื้อกุ้งมีสีขาวถึงขาวอมเหลือง น้ำมากแต่ไม่แฉะ รสชาติหวานอมเปรี้ยว เมล็ดไม่มาก ความหวานประมาณ 10 เปอร์เซนต์บริกซ์ นิยมใช้ในเทศกาลไหว้พระจันทร์ เพราะมีรูปทรงที่สวยงาม เป็นพันธุ์ที่ส่งขายต่างประเทศ ปลูกกันมากที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และจังหวัดปราจีนบุรี

ส้มโอพันธุ์ขาวแป้น 
ผลมีลักษณะกลมแป้น ไม่มีจุก ขนาดผลโตปานกลาง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 - 16 เซนติเมตร สูง 10 - 12 เซนติเมตร ด้านก้นผลเว้าเล็กน้อย ผิวเรียบ เปลือกผลหนาประมาณ 2 เซนติเมตร ผลหนึ่งมีประมาณ 13 - 14 กลีบ กุ้งเนื้อมีสีขาวอมเหลือง รสชาติหวานอมเปรี้ยว ความหวานประมาณ 10 – 10.5 เปอร์เซนต์บริก เมล็ดลีบ นิยมบริโภคภายในประเทศ ปลูกกันมากที่จังหวัดนครปฐมและจังหวัดราชบุรี
ส้มโอพันธุ์ขาวทองดี
ทรงผลกลมแป้น ไม่มีจุก ผลโตขนาดปานกลาง ขั้วผลมีจีบบ้างเล็กน้อย บริเวณก้นผลเรียบเว้าเล็กน้อย ผิวเรียบ สีเขียวเข้ม ต่อมน้ำมันเล็กละเอียด ชิดกัน เปลือกผลบาง ด้านในสีชมพูเรื่อ ๆ ผลหนึ่งมี 14 - 15 กลีบ ผนังกลีบสีชมพูอ่อน เนื้อมีสีชมพู กุ้งเบียดกันแน่น เนื้อนิ่ม ฉ่ำน้ำ รสชาติหวานอมเปรี้ยว นิยมบริโภคภายในประเทศ ส่งขายต่างประเทศ ปลูกมากที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และจังหวัดอื่น ๆ ประปราย
1.โรคแคงเกอร์ 
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เข้าทำลายใบ กิ่ง และผลอ่อนของส้มโอ ระบาดมากในช่วงฤดูฝนหรือสวนที่มีอากาศชื้น บนใบพบแผลตกสะเก็ดนูนสีน้ำตาลแผลจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เป็นวงซ้อนๆกัน ถ้าเกิดมากใบจะเหลืองไหม้และร่วงไปในที่สุด ตามกิ่งและผลจะพบเป็นแผลตกสะเก็ดนูนขึ้นเช่นเดียวกับใบ พบที่กิ่งอ่อน กิ่งแก่ ผลอ่อน ผลแก่ พันธุ์ที่พบโรคแคงเกอร์มาก ได้แก่ พันธุ์ขาวแป้นและขาวพวง
การป้องกันกำจัด 
ควรตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง ตัดแต่งกิ่งและใบส่วนที่เป็นโรคไปเผาทำลาย ทุกครั้งที่ส้มโอแตกใบอ่อน ติดผลอ่อน ให้ฉีดพ่นสมุนไพรน้ำส้มควันไม้ อัตราน้ำส้มควันไม้ 1 ส่วนต่อน้ำ 150 ส่วนหรือน้ำส้มควันไม้ 150 ซีซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นสม่ำเสมอ หรือฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงคือ โรคแคงเกอร์และแมลงที่เป็นพาหะคือ หนอนชอนใบ ใช้สารประกอบทองแดง คอบเปอร์ออกซิคลอไรด์ หรือ คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ ผสมกับอะบาเม็กติน หรืออาจใช้สารปฏิชีวนะ เช่น สเตร็ปโตมัยซิน ซัลเฟต หรือ อะกรีมัยซิน เป็นต้น
2.โรคกรีนนิ่ง หรือ โรคใบแก้วใบด่าง 
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แย่งอาหารจากใบส้มโอ ทำให้ใบแสดงการขาดธาตุอาหาร เพลี้ยกระโดดส้มเป็นพาหะและติดต่อมาจากกิ่งพันธุ์ที่เป็นโรคนี้
การป้องกันกำจัด 
เลือกซื้อกิ่งพันธุ์ที่ปราศจากโรค และควรใส่ปุ๋ยคอกและฉีดพ่นธาตุสังกะสีทางใบให้แก่ส้มโอ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ส่วนการใช้สารเคมีให้ปฏิบัติไปพร้อมกับโรคแคงเกอร์
3.โรคยางไหล 
เกิดจากเชื้อรา อาการโรคยางไหลตามรอยแตกของกิ่งและลำต้น แมลงจำพวกปากดูดเป็นพาหะ เกิดตามกิ่ง จะแห้งโดยจะเริ่มใบเหลืองและแห้ง ถ้าเกิดที่ลำต้นใบจะแห้ง ใบร่วงและต้นจะตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด
ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง พบระบาดมาก ใช้สารเคมีคอปเปอร์ออกซิคลอไรด์ หรือ คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ ผสมกับอะบาเม็กติน ฉีดพ่นทุก 7 วัน
4.หนอนชอนใบส้ม 
เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญมากของพืชตระกูลส้ม พบระบาดมากในฤดูฝน โดยเฉพาะปีที่ฝนตกชุกมาก ตกต่อเนื่อง พบรอยด่างวกวนเป็นทาง โดยผีเสื้อกลางคืนวางไข่บนใบอ่อนและหนอนจะชอนไชกินผิวใบ ทำให้ใบส้มหงิก และม้วนงอ
การป้องกันกำจัด
ทุกครั้งที่ส้มโอแตกใบอ่อน ควรฉีดพ่นด้วย สารเคมี อะบาเม็กติน ผสมกับคอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ หรือคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ หรือใช้น้ำส้มควันไม้ อัตรา 150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
5.หนอนแก้วส้ม (หนอนกินใบส้ม) 
เป็นหนอนขนาดใหญ่กว่าหนอนชอนใบและสามารถกัดกินใบอ่อนส้มได้รวดเร็วมาก จนเหลือแต่เส้นใบ ถ้าพบระบาดมากภายใน 2 - 3 วัน กินใบอ่อนหมดทั้งต้นได้ พบระบาดมากในฤดูฝนเช่นกัน
การป้องกันกำจัด
ทุกครั้งที่ส้มโอแตกใบอ่อน ควรฉีดพ่นด้วย สารเคมี อะบาเม็กติน ผสมกับคอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ หรือคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ หรือใช้น้ำส้มควันไม้ อัตรา 150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

6.เพลี้ยไฟ ไรแดง 
เป็นแมลงที่มีขนาดเล็ก ทำลายช่วงที่มีอากาศร้อน พบมากในช่วงดอกบาน แมลงชนิดนี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ทำให้ใบหงิกงอ ดูดกินน้ำเลี้ยงจากเกสรดอก ส่งผลให้ส้มโอไม่ติดผล ดอกร่วง ถ้าติดผล ผลจะเป็นวง ผิวจะตกกระ ขายไม่ได้ราคา
การป้องกันกำจัด 
ใช้น้ำส้มควันไม้ฉีดพ่นช่วงแตกใบอ่อน หรือฉีดพ่นสารเคมีกลุ่มคาร์โบซัลแฟน ผสมกับเฟนไฟโรซิเมต





แหล่งที่มา: http://www2.it.mju.ac.th/dbresearch/raen/index.php/newspeaper2012/434-grapefruit

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก