วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

การปลูกลำไย


การปลูกลำไย

ลำไยเป็นไม้ผลยืนต้นที่มีอายุการให้ผลผลิตที่ยาวนาน ดังนั้นการสร้างสวนลำไยจึงควรมีการวางแผนที่ดี โดยคำนึงถึงต้นทุนการผลิตความสะดวกต่อการปฏิบัติงานและคุ้มค่าต่อการลงทุน(พาวินและคณะ, 2547)
การเลือกพื้นที่ปลูกลำไย(พาวินและคณะ, 2547)
    1.การเลือกพื้นที่ ลำไยเป็นพืชที่เจริญเติบโตในดินแทบทุกชนิด แม้กระทั้งดินลูกรัง แต่ดินปลูกที่ให้ลำไยมีการเจริญเติบโตได้ดี คือดินร่วนปนทรายและดินตะกอน ซึ่งเกิดจากตะกอนดินกรวด หิน ดิน ทราย อินทรีวัตถุที่น้ำพัดมาเกิดการทับถมของอินทรียวัตถุ สังเกตได้จากต้นลำไยที่ปลูกตามที่ราบลุ่มริมแม่น้ำปิง น้ำใต้ดินสูงในเขตจังหวัดลำพูน และเชียงใหม่ มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดี ดินปลูกลำไยควรมีค่าความเป็นกรดด่างของดิน(pH)อยู่ในช่วง 5.0-7.0 มีหน้าดินลึกระบายน้ำดี ดังนั้นก่อนทำการปลูกลำไยควรศึกษาคุณสมบัติของดิน เช่น โครงสร้างของดิน เนื้อดิน และความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการธาตุอาหารลำไยอย่างมีประสิทธิภาพ
   2. แหล่งน้ำ น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อกาเจริญเติบโตของลำไย การผลิตลำไยเพื่อให้ได้คุณภาพต้องมีน้ำในปริมาณที่เพียงพอตลอดฤดูกาล นอกจากนี้ควรทำการศึกษาคุณสมบัติของน้ำและวิธีการจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพเหมาะสำหรับการผลิตลำไย
   3. สภาพภูมิอากาศ ปัจจัยสภาพภูมิอากาศที่มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตของลำไย ได้แก่
3.1 อุณหภูมิ โดยทั่วไปลำไยต้องการอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิที่สามารถเจริญเติบโตได้อยู่ระหว่าง 4-30 องศาเซลเซียส และต้องการอุณหภูมิต่ำ 10-22 องศาเซลเซียส ในช่วงฤดูหนาวเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม เพื่อสร้างตาดอก ซึ่งในปีที่มีอากาศเย็นระยะเวลานานโดยไม่มีอากาศอุ่นแทรก ลำไยจะออกดอกติดผลดี แต่ถ้ามีอุณหภูมิไม่ต่ำพอ ต้นลำไยจะออกดอกน้อยหรือไม่ออกดอก
3.2 แสง การเจริญเติบโตของลำไยจำเป็นต้องได้รับแสงอย่างเพียงพอ ดังนั้นการปลุกลำไยจึงควรปลูกในที่โล่ง ในสภาพพื้นที่ที่มีปริมาณแสงน้อยซึ่งอาจเกิดจากการบังแสงของเมฆ หรือเกิดฝนตกติดต่อกันหลายวัน มักทำให้ต้นลำไยชะงักการเจริญเติบโต ส่วนในสภาพที่มีความเข้มแสงสูงมักเกิดปัญหาทำให้ผิวของผลลำไยเป็นสีน้ำตาลเข้มจำหน่ายได้ราคาตกต่ำ
3.3 ปริมาณน้ำฝนและความชื้นสัมพัทธ์ แหล่งปลูกลำไยควรมีปริมาณน้ำฝนอยู่ในช่วงประมาณ1000 – 200 มิลลิเมตรต่อปี และควรมีการกระจายของฝนประมาณ100-150 วันต่อปีในแหล่งปลุกที่มีปริมาณฝนตกน้อย ควรจัดหาแหล่งน้ำและระบบชลประทานให้เพียงพอและเหมาะสม
3.4 ระดับความสูงของพื้นที่ ลำไยสามารถปลูกได้ดีในที่ราบลุ่มจนถึงพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล1000 เมตร
    4. การตลาด ก่อนการเริ่มต้นสร้างสวนลำไยผู้ดำเนินการต้องมั่นใจว่าในพื้นที่นั้นมีตลาดรองรับผลผลิตทั้งในแปรรูปและผลสด พื้นที่ปลูกลำไยไม่ควรอยู่ห่างจากจุดรับซื้อมากเกินไป เพราะจะทำให้ต้นทุนในการขนส่งสูงทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้ในระยะยาว
    5. การคมนาคมขนส่ง การเลือกสร้างสวนลำไยในพื้นที่ที่มีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและการจำหน่ายผลผลิต นอกจากจะช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางยังช่วยให้การขนส่งผลผลิตไปจำหน่ายยังแหล่งรับซื้อทำได้รวดเร็วมีการสูญเสียของผลผลิน้อยลง
  6. แรงงาน การปฏิบัติงานภายในสวนลำไยจำเป็นต้องมีแรงงานทั้งแรรงงานประจำและแรงงานชั่วคราวต้องทำงานเร่งด่วนในบางช่วง เช่น ช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต การตัดแต่งกิ่ง เป็นต้น แหล่งปลุกลำไยที่มีแรงงานที่เพียงพอ และมีความชำนาญจะช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้มาก นอกจากนี้ควรมีการฝึกฝนแรงงานให้มีความรู้และทักษะเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระให้กับเจ้าของสวน
การเลือกต้นพันธุ์ลำไย
จากคำกล่าวที่ว่า การเลือกไม้ผลพันธ์ดีมีชัยไปเกือบครึ่ง” การสร้างสวนลำไยเพื่อให้ต้นลำไยมี่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ควรเลือกซื้อต้นลำไยจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้ มีการผลิตจากต้นพันธุ์ที่มีพ่อแม่สมบูรณ์ แข็งแรงสามารถตั้งตัวได้เร็วที่สำคัญควรควรได้จากต้นพันธุ์ที่มีประวัติการออกดอกติดผลสม่ำเสมอ ผลมีขนาดใหญ่ การคัดเลือกลำไยควรคำนึงถึงระบบรากที่แข็งแรง เช่น การปลูกต้นลำไยกิ่งเสียบหรือการเสริมรากกับต้นกิ่งตอนหลังปลูก (พาวินและคณะ, 2547)
การวางผังสร้างสวนลำไย
การวางผังปลูกลำไยที่ดีย่อมส่งผลให้การจัดการสวนมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น สามารถนำเทคโนโลยีหรือเครื่องมือที่ทันสมัยมาปรับปรุงใช้ในการผลิตเพื่อให้ผลผลิตของลำไยมีคุณภาพและช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้ จ้อควรพิจารณาในการวางผังสร้างสวนลำไยมีดังนี้(พาวินและคณะ, 2547)
ขนาดพื้นที่ การสร้างสวนลำไยเพื่อเป็นการค้ามักใช้พื้นที่ปลูกขนาดใหญ่ควรมีการแบ่งพื้นที่ปลุกเป็นแปลงย่อยหลายแปลงแต่ละแปลงควรมีถนนกั้นเพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการจัดการต้านต่างๆเช่น การให้น้ำและธาตุอาหาร การควบคุมป้องกันศัตรูลำไยหรือป้องกันไฟป่าในช่วงหน้าแล้งเป็นต้น
ระยะปลูก การกำหนดระยะปลูกของลำไยเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการปลูกควรมีการศึกษาข้อดีและข้อเสียของระยะปลุกต่างๆให้ละเอียดตลอดจนวิธีการจัดการหลังทำการปลุก เช่น การจัดแต่งกิ่งควบคุมทรงพุ่ม การใช้สารกระตุ้นการออกดอก เป็นต้น
ส่วนประกอบอื่นๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการทำงานและสภาพภูมิทัศน์ภายในสวนมีความสวยงาม การสร้างสวนลำไยควรมีส่วนประกอบอื่นๆ เช่น มีแหล่งน้ำที่พอเพียง แนวระบายน้ำและป้องกันน้ำขัง ถนนภายในสวน โรงเรือน โรงคัดบรรจุผลผลิตควรอยู่กลางพื้นที่สวน เพื่อให้สะดวกต่อการจัดการเป็นต้น

รูปแบบการปลูกลำไย
รูปแบบการปลุกลำไยที่นิยมมี 3 แบบ คือ
1. การปลูกระยะห่าง เป็นวิธีที่นิยมมากตั้งแต่ในอดีตและปัจจุบัน การปลูกลำไยต้องการให้ต้นลำไยมีเจริญเติบโตขยายขนาดของทรงพุ่มเต็มที่ รูปแบบการปลุกมีทั้งสี่เหลี่ยมจัตุรัส และแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยกำหนดให้ระยะห่างระหว่างแถวและระยะห่างระหว่างต้นเกิน 8 เมตร เช่น 8x8 10x10 12x12 8x10 และ 10x12 เมตร ต้นลำไยมักมีทรงพุ่มขนาดสูงใหญ่ ปริมารผลผลิตติ่ต้นสูง แต่จำนวนต้นต่อไร่น้อยมักประสบปัญหาการจัดการและต้นลำไยโค่นล้มง่ายโดยเฉพาะเมือเกิดพายุลมแรง(พาวินและคณะ, 2547)
2. การปลูกระยะชิด เป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่การปลูกระยะชิดต้องมีการตัดแต่งกิ่งเอควบคุมทรงพุ่มและการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต กระตุ้นให้มีการออกดอก การปลูกลำไยระยะชิดเป็นรูปแบบการปลูกที่ได้จำนวนต้นต่อไร่สูง ในประเทศไทยมีการสร้างสวนลำไยระยะชิดยังไม่แพร่หลาย อาจเนื่องมาจากมีบทเรียนจากการปลูกลำไยระยะชิด ที่ไม่ประสบความสำเร็จในอดีต การควบคุมทรงพุ่มทำได้ยากเพราะต้นลำไยที่ตัดแต่งกิ่งมักออดอกปีเว้นปี อย่างไรก็ตามภายหลังมีการค้นพบสารโพแทสเซียมคลอเรตสามารถกระตุ้นการออกดอกของลำไยได้ แนวคิดเกี่ยวกับการปลูกลำไยระยะชิดจึงกลับมาอีกครั้ง ซึ่งรูปแบบการปลุกลำไยระยะชิดมีหลายๆแบบ ดังนี้ (พาวินและคณะ, 2547)
2.1 การปลูกระยะชิดแบบแถวเดี่ยว เป็นรูปแบบการปลูกคล้ายระบบการปลูกห่างแต่มีระยะปลูกที่แคบกว่า เช่น แบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ระยะปลูก 4x4 5x5 เมตร หรือ แบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ระยะปลูก 3x6 4x6 เมตร ซึ่งสามารถนำเครื่องจักรเข้าไปปฏิบัติงานในสวนได้สะดวกกว่าแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส
2.2 การปลูกระยะชิดแบบแถวคู่ เป็นระบบการปลูกที่กำหนดให้แถวอยู่ชิดกันหนึ่งคู่สลับกับแถวห่างเพื่อการปฏิบัติงานงานโดยเครื่องจักร เป็นระบบที่เพิ่มจำนวนต้นต่อไร่มากขึ้นและมีพื้นที่การให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น แต่ในลักษณะสภาพแวดล้อมที่อากาศร้อนชื้นอาจทำให้มีการระบาดของโรคและแมลงศัตรูลำไยมาก
2.3 การปลูกระยะชิดแบบกลุ่ม เป็นระบบการปลูกลำไยรวมกันให้เกิดเป็นกลุ่มโดยอาศัยเทคนิคการตัดแต่งกิ่งควบคุมทรงพุ่ม เป็นการเพิ่มพื้นที่ของการให้ผลผลิตลำไย)
3.ระบบคอนทัวร์หรือระบบแนวระดับ เป็นระบบการปลูกลำไยที่ช่วยป้องกันและลดอัตราการชะล้าง หรือการพังทลายของดินในพื้นที่ที่มีความลาดชัน ปกติระบบการปลุกนี้จะให้เมื่อพื้นที่ปลูกมีความลาดชันเกิน 3 เปอร์เซ็นต์ หมายถึงในทุกระยะทาง 100 เมตร จะมีระดับความสูงขึ้นหรือต่ำลง 3 เมตรขึ้นไปต้องทำการปลุกตามแนวระดับ การเตรียมพื้นที่ปลูกต้องมีการทำระดับหรือขั้นบันได ตามระดับความสูงของพื้นที่ซึ่งการปลูกแบบนี้มีความยุ่งยากต่อการปฏิบัติงานในสวนมากกว่าวิธีอื่น (พาวินและคณะ, 2547)

ฤดูปลูก
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูกลำไย คือช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูฝน จะได้น้ำช่วงแรกเพื่อให้ลำไยตั้งตัวได้ในระยะแรก 3-4 เดือน ก่อนเข้าสู่ช่วงฝนตกหนัก(สิงหาคม-กันยายนและฝนจะทิ้งช่วงในเดือน ตุลาคม-มกราคม และเข้าสู่ฤดูแล้ง(กุมภาพันธ์-เมษายนซึ่งจะต้องมีการจัดการน้ำที่ดี ในระยะปีที่1-2 ซึ่งถือว่าเป็นปีที่ลำไยตั้งตัวและจะรอดได้จำเป็นต้องไม่ให้ขาดน้ำในฤดูแล้ง และไม่ให้น้ำท่วมขังในฤดูฝนด้วย (พงษ์ศักดิ์, และคณะ2542)

การเตรียมพื้นที่ปลูกลำไย
การสร้างลำไยของประเทศไทยส่วนมากมักมีการปลูกใน 2 ลักษณะพื้นที่ (พาวินและคณะ, 2547)
คือ
การสร้างสวนลำไยที่สภาพที่ลุ่ม บางพื้นที่ของจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่มักมีการปลูกลำไยในที่ใช้ทำนามาก่อน ปัญหาหลักที่พบของการปลูกลำไยในที่ลุ่มคือ น้ำท่วมขังโดยเฉพาะใยช่วงฤดูฝน และมีระดับน้ำใต้ดินสูง หากมีการระบายน้ำไม่ดี ทำให้ต้นลำไยชะงักการเจริญเติบโต การจัดการพื้นที่ปลุกลำไยที่เป็นที่ลุ่มคือ การยกสันร่องปลูกลำไย เป็นการสร้างสวนลำไยที่ต้องมีการลงทุนค้อนข้างสูง โดยทำการขุดร่องน้ำนำดินจากการขุดมาเสริมบนสันร่องเพื่อให้ระดับดินปลูกสูงขึ้น สันร่องที่ใช้ปลุกควรกว้างพอสำหรับการเจริญเติบโตของลำไย โดยทั่วไปสันร่องมีความกว้างประมาณ 6-8 เมตร และร่องน้ำกว้าง 1—2 เมตร ระบบการปลุกบนสันร่องนิยมปลูกเป็นลักษณะแถวเดียวหรือแถวคู่ การปลูกลำไยบนสันร่องควรทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อควบตุมทรงพุ่มอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สะดวกต่อการปฏิบัติงาน และลดปัญหาโรคและแมลงศัตรูลำไย การสร้างสวนลำไยระบบนี้ในระยะแรกของการปลุกต้นลำไยมีทรงพุ่มขนาดเล็กสามารถใช้พื้นที่ว่างบนสันร่องปลูกพืชอายุสั้น เช่น พืช ผัก หรือตระกูลถั่ว และยังทำให้ต้นลำไยได้รับน้ำและปุ๋ยที่ให้พืชผักอยู่ตลอดเวลาทำให้ต้นลำไยเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
การสร้างสวนลำไยในสภาพที่ดอน การเตรียมพื้นที่ปลูกลำไยในสภาพที่ดอนจะทำได้สะดวกกว่าในสภาพที่ลุ่ม ปัญหาส่วนมากที่มักพบในการปลูกลำไยในสภาพที่ดอน คือ การขาดน้ำ พื้นที่มีชั้นหินแข็งและปัญหาไฟป่า เป็นต้น ดังนั้นการเตรียมพื้นที่ปลูกการสภาพที่ดอนควนสำรวจพื้นที่สร้างแหล่งน้ำสำหรับใช้ภายในสวน สภาพพื้นที่ปลุกลำไยมีชั้นหินแข็งควรใช้เครื่องจักรทำลายชั้นหินแข็งก่อนปลุก โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนอาจทำให้ลำไยชะงักการเจริญเติบโตหรือตายได้ การสร้างสวนลำไยในที่ดอนยังมีปัญหาลมพัดแรงทำให้ต้นโค่นล้มกิ่งฉีกหัก จึงควรปลูกแนวไม่บังลม เช่นไผ่และสน เป็นต้น และต้องมีการตัดแต่งกิ่งให้ต้นลำไยมีทรงพุ่มเตี้ยช่วยลดปัญหาการโค่นล้ม มีการใช้ไม้ไผ่ค้ำกิ่งน้อยลง นอกจากนี้การสร้างสวนลำไยในที่ดอนยังต้องทำแนวป้องกันไฟป่าในช่วงหน้าแล้ง หรืออาจสร้างถนนโดยรอบภายในสวนสาสารถใช้เป็นแนวป้องกันความเสียหายจากไฟไหม้

การปลูกลำไย
การปลูกลำไยเป็นวิธีการปฏิบัติที่ต้องอาศัยทักษะและความละเอียดอ่อน เพื่อให้ต้นลำไยมีการเจริญเติบโตที่ดีและรอดตายสูง ขั้นตอนการปลูกลำไยมีดังนี้ (พาวินและคณะ, 2547)
1.การเตรียมต้นพันธุ์ลำไยก่อนปลูก เพื่อให้กิ่งพันธุ์ลำไยสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมปลูกได้ดีก่อนปลูกประมาณ 1-2 สัปดาห์ ควรย้ายต้นพันธุ์ลำไยออกกลางแจ้งภายนอกโรงเรือน มีการตัดแต่งกิ่งยอดอ่อนออกบ้าง เพื่อลดการคายน้ำกรณีที่ใช้ต้นลำไยที่ขยายพันธ์ด้วยวิธีเสียบกิ่ง ควรตรวจสอบการเชื่อติดของรอยแผลให้สมบูรณ์และใช้มีดกรีดพลาสติกพันแผลออกก่อนนำไปปลูก
2. การเตรียมหลุมปลูกลำไย มีการปฏิบัติดังนี้
2.1 การวัดระยะตำแหน่งของหลุมปลูกลำไย เป็นการกำหนดตำแหน่งของหลุมปลูกลำไยตามที่กำหนดไว้ในแผนผังของพื้นที่ปลุกการวัดระยะเพื่อกำหนดตำแหน่งหลุมปลูกของลำไย ควรได้แนวแถวปลูกที่มองทุกด้านเป็นแนวเส้นตรงในทุกทิศ อุปกรณ์ที่จำเป็นในการวัดระยะตำแหน่งของหลุมปลูกลำไยเช่น เทปวัด ไม้หลักเล็งแนว ไม้หลักกำหนด จุด เชือก และอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ค้อน จอบ มีด การทำสวนในพื้นที่ขนาดใหญ่อาจใช้กล้องช่วยเล็งแนวทำให้การปฏิบัติงานเร็วขึ้น
2.2 การขุดหลุมปลูกลำไย ขนาดของหลุมปลูกพิจารณาได้จากสภาพโครงสร้างของดิน ถ้าในสภาพพื้นที่ที่มีโครงสร้างดินปลูกเป็นดินร่วน และมีความอุดมสมบูรณ์ขนาดของหลุมปลูกอาจเล็กลงได้โดยปกติจะใช้ขนาด30X50เซนติเมตร การทสวนลำไยในพื้นที่ขนาดใหญ่การขุดหลุม ปลูกต้องใช้แรงงงานจำนวนมากทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูง การใช้แทรกเตอร์ติดสว่านเจาะดิน ทำการขุดหลุมจะช่วยให้ประหยัดเวลา แลแรงงงานได้อย่างมาก แต่การใช้อุปกรณ์เหล่านี้ควรหลีกเลี่ยงในสภาพดินค่อนข้างชื้น

ขั้นตอนการขุดหลุมและปลูกต้นพันธุ์ลำไย
วิธีการปลูกลำไยที่ถูกต้องจะช่วยให้ต้นลำไยมีการเจริญเติบโตที่ดีและได้สวนลำไยที่มีความเป็นระเบียบสวยงาม ควรมีขั้นตอนดังนี้ (พาวินและคณะ, 2547)
1.วางไม้กำหนดตำแหน่งปลุก ก่อนขุดหลุมในตำแหน่งปลูกเพื่อป้องกันไม่ไห้ตำแหน่งของต้นลำไยเคลื่อนไปจากตำแหน่งเดิมที่กำหนดไว้
2. ขุดหลุมแยกชั้นดินบนและดินล่างไว้ไม่ไห้ปนกัน ในสภาพที่มีความชื้นสูงควรมีการตากหน้าดินทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนปลูกเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่อาศัยอยู่ในดิน
3. คลุกเค้าปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายแล้วหรือปุ๋ยหมักกับดินชั้นบน อัตรา 1:1 หรือ 2:1 ใส่ลงไปบริเวณก้นหลุม
ปลูกต้นลำไยให้อยู่ในตำแหน่งต้นของไม้กำหนดตำแหน่งปลูก
4. กลบดินให้แน่นกระชับให้สูงกว่าระดับพื้นและให้รอยเชื่อมต่อต้นพันธุ์อยู่หัวผิวดินและรดน้ำให้ความชื้นหลังปลูก

การดูแลรักษาลำไยที่ปลูกใหม่
หลังการปลูกลำไยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถ้าสภาพแวดล้อมปลูกไม่เหมาะสมโดยเฉพาะการปลูกลำไยในที่ดอนช่วงหน้าแล้งอาจทำให้ลำไยได้รับอันตรายจำเป็นต้อง มีการปฏิบัติเพื่อให้ต้นลำไยมีการเจริญเติบโตตามปกติ ควรมีการปฏิบัติดังนี้ (พาวินและคณะ, 2547)
1.  การผูกหลักเพื่อป้องกันต้นโยกคลอนจากลมหรือสัตว์เลี้ยง ทำให้รากลำไยได้รับความเสียหาย
2. การปลูกลำไยที่ขยายพันธุ์โดยการเสียบกิ่ง ควรใช้ปลายมีดกรีด พลาสติกพัน แผลออกเพื่อป้องกันพลาสติกรัดลำต้นลำไย
3. คลุมโคนต้นลำไยด้วยเศษพืชในช่วงฤดูแล้ง เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการสูญเสียน้ำไปจากดินและควรราดสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูทำลายรากลำไย เช่น ปลวก และ มด
บังร่มให้ต้นลำไยกรณีปลูกในพื้นที่มีแดดจัดสภาพอากาศร้อนเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อต้นลำไยควรใช้วัสดุพลาง เช่น ทางมะพร้าว ตาข่ายพลางแสง
4. ระยะแรกของการปลูกควรให้น้ำทุกวัน

การปลูกลำไยทรงเตี้ยระยะชิด
ลำไยทรงเตี้ยระยะชิด
การปลูกลำไยระยะชิดเป็นระบบการปลูกรูปแบบใหม่ เป็นรูปแบบที่นิยมในประเทศ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ยุโรป อเมริกาและออสเตรเลีย การทำสวนลำไยแบบดั้งเดิมเกษตรกรจะปล่อยให้ต้นลำไยมีทรงพุ่มสูงใหญ่ โดยตัดแต่งกิ่งที่อยู่ด้านล่างออก ซึ่งจะเป็นการบังคับให้ต้นลำไยมีการเจริญในด้านส่วนสูงมากขึ้น ทำให้ไม่สะดวกต่อการจัดการและการปรับปรุงคุณภาพเพื่อให้ผลมีขนาดใหญ่โดยการตัดช่อผลทำได้ยาก ในส่วนเกษตรกรที่คิดจะสร้างสวนใหม่เพื่อทดแทนสวนลำไยเก่าที่เสื่อมโทรมนั้น ควรปลูกลำไยทรงเตี้ยระยะชิด(ศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไยแม่โจ้,มปป)
ข้อดีของลำไยทรงเตี้ยระยะชิด
1.ให้ผลตอบแทนเร็ว ปลูกเพียง 2 ปีก็ให้ผลผลิต
2.ให้ผลผลิตต่อไร่สูง
3. ลดต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะด้านแรงงาน
4. สะดวกในการจัดการ เช่น การดูแลรักษา เก็บเกี่ยวผลผลิต และการปรับปรุงคุณภาพของผลผลิต โดยการตัดแต่งช่อผล เพื่อเพิ่มขนาดผล
การปลูกลำไยทรงเตี้ยระยะชิด
การปลูกลำไยระยะชิด เป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมในการทำสวนลำไยที่ให้ประโยชน์คุ้มค่า มีวิธีการไม่ยุ่งยาก เกษตรกรสามารถทำได้เอง ดังนี้ (ศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไยแม่โจ้,มปป.)
1. การกำหนดระยะปลูก
เกษตรกรสามารถกำหนดระยะปลูกได้ตามความต้องการอาจเริ่มตั้งแต่ระยะระหว่างต้น 2 – 6 เมตร และระหว่างแถว 2 – 6 เมตร


แหล่งที่มา: https://www.google.co.th/search?rlz=1C1RNKA_enTH493TH494&sugexp=chrome,mod=10&sourceid=chrome&ie=UTF-8&q=http%3A%2F%2Fkanchanapisek.or.th

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก